กุ่มน้ำ
ชื่อเครื่องยา | กุ่มน้ำ |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | เปลือกต้น |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | กุ่มน้ำ |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | กุ่ม (เลย) อำเภอ (สุพรรณบุรี) ผักกุ่ม ก่าม (ตะวันออกเฉียงเหนือ) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Crateva religiosa G.Forst. |
ชื่อพ้อง | Crateva brownii Korth. ex Miq., Crateva hansemannii K.Schum., Crateva macrocarpa Kurz, Crateva magna (Lour.) DC., Crateva membranifolia Miq. , Crateva speciosa |
ชื่อวงศ์ | Capparaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
เปลือกค่อนข้างเรียบ มีรอยแตกตื้นๆ ผิวเปลือกด้านนอกสีเทา ด้านในสีน้ำตาล เปลือกหนา 0.5-1.0 เซนติเมตร
เครื่องยา เปลือกกุ่มน้ำ
เครื่องยา เปลือกกุ่มน้ำ
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย เปลือกต้นรสขมหอม แก้สะอึก ขับผายลม ขับลมในลำไส้ ขับเหงื่อ แก้ในกองลม แก้กระษัย แก้ริดสีดวงผอมแห้ง ระงับพิษที่ผิวหนัง แก้ไข้ ขับน้ำเหลืองเสีย เป็นยาบำรุง ขับน้ำดี ขับนิ่วในทางเดินปัสสาวะ แก้อาเจียน แก้ลมทำให้เรอ ผสมรวมกับเปลือกกุ่มบก เปลือกทองหลางใบมน ต้มน้ำดื่ม เป็นยาขับลม แก้สะอึก
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้กุ่มน้ำในตำรับ “ยาแก้ลมอัมพฤกษ์” มีส่วนประกอบของเปลือกต้นกุ่มน้ำร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
เปลือกต้นพบสาร epiafzelechin 5-glucoside สารไตรเทอร์ปีนอยด์ diosgenin, phragmalin triacetate, lupeol สารอัลคาลอยด์ ได้แก่ cadabicine และ cadabcine diacetate (Patil and Gaikwad, 2011)
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ลดปวด ลดการอักเสบข้อ
สารสกัดเอทานอลจากเปลือก ลดการปวดในหนูถีบจักรที่เกิดจากการเหนี่ยวนำความเจ็บปวดด้วยกรดอะซิติกได้อย่างมีนัยสำคัญ (Patil and Gaikwad, 2011)
สารไตรเทอร์ปีน lupeol และ lupeol linolate ที่แยกได้จากเปลือกต้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบข้อในหนูขาว เมื่อทดสอบด้วยวิธีการฉีดสารกระตุ้นการอักเสบข้อ (Freund’s adjuvant) โดย lupeol linolateออกฤทธิ์ได้ดีกว่า lupeolนอกจากนี้สารทั้งสองชนิดสามารถลดการบวมที่อุ้งเท้าสัตว์ทดลองได้ (Patil and Gaikwad, 2011)
ยับยั้งการเกิดนิ่วที่ไต
สารสกัดน้ำจากเปลือกป้องกันการเกิดนิ่วที่ทางเดินปัสสาวะที่เกิดจากสารออกซาเลต เมื่อทดสอบในหนูตะเภาที่ได้รับ sodium oxalate ร่วมกับ methionine และมีรายงานว่าสารสกัดน้ำจากเปลือกต้น ช่วยขับก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นที่ไตได้ (Patil and Gaikwad, 2011)
สารไตรเทอร์ปีน lupeol และ betulin (อนุพันธ์ของ lupeol) ที่แยกได้จากเปลือกต้น เมื่อนำมาทดสอบในหนูขาวที่มีการขับ oxalate ออกทางปัสสาวะมาก (hyperoxaluric) พบว่าสามารถลดการทำลายของท่อไต และลดผลึกที่จะทำให้เกิดเป็นก้อนนิ่วที่ไตได้ โดย lupeol มีฤทธิ์ดีกว่า betulin และมีรายงานว่า lupeol ลดการสะสะมของแคลเซียม และออกซาเลตที่ไต โดยยับยั้งการทำงานของ glycolic acid oxidase ที่ตับ ทำให้การรวมตัวของสารที่จะทำให้เกิดก้อนนิ่วที่ไตลดลง (Patil and Gaikwad, 2011)
ลดความเป็นพิษต่อไต
สารไตรเทอร์ปีน lupeol ที่แยกได้จากเปลือกต้นมีฤทธิ์ลดความแป็นพิษต่อไตในสัตว์ทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำความเป็นพิษต่อไตด้วย cisplatin โดยทำให้ระดับของ BUN, creatinine และ lipid peroxidation ที่บ่งบอกความเป็นพิษต่อไตลดลงได้ และสามารถเพิ่มระดับเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระglutathione และ catalase (Patil and Gaikwad, 2011)
ฤทธิ์ปกป้องตับ
การทดสอบในหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้ตับเป็นพิษด้วยแคดเมียม เป็นผลให้ระดับสาร malondialdehyde เพิ่มขึ้น และระดับเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระในตับลดลง เมื่อป้อนสารไตรเทอร์ปีน lupeol หรือ lupeol linolate ที่แยกได้จากเปลือกต้นแก่หนู พบว่าทำให้เนื้อเยื่อตับกลับสู่ปกติได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยการยับยั้งอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น และทำให้ระดับเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น โดยสาร lupeol linolateออกฤทธิ์ได้ดีกว่า lupeol (Patil and Gaikwad, 2011)
การทดสอบในหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้ตับเป็นพิษด้วยเชื้อรา aflatoxin B1 เป็นผลให้ระดับสาร lactate dehydrogenase (LDH), alkaline phosphatase, alanine และ aspartate aminotransferase และเกิด lipid peroxide เพิ่มขึ้น ในขณะที่ระดับเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระในตับลดลง เมื่อป้อนสาร lupeol ที่แยกได้จากเปลือกต้นแก่หนู พบว่าทำให้เนื้อเยื่อตับ และค่าระดับเอนไซม์ต่างๆ กลับสู่ปกติได้ โดยเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน silymarin ซึ่งแสดงว่าสาร lupeolมีฤทธิ์ดีมากในการปกป้องตับจากเชื้อรา aflatoxin B1(Patil and Gaikwad, 2011)
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
อาการไม่พึงประสงค์:
เปลือกต้นสดมีสารไซยาโนเจเนติกไกลโคไซด์ ที่สลายตัวให้ก๊าซไซยาไนด์ได้ การนำมาทำยาจึงต้องใช้เปลือกแห้งจึงจะไม่เกิดอันตราย
การศึกษาทางพิษวิทยา:
เอกสารอ้างอิง:
Patil UH, Gaikwad DK. Medicinal profile of a scared drug in ayurveda: Crataeva religiosa. J Pharm Sci & Res. 2011:3(1):923-929.
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/
ข้อมูลตำรับยาแก้ลมอัมพฤกษ์ : phar.ubu.ac.th/herb-thairemedy/