กระแจะ

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

กระแจะ

ชื่อเครื่องยา กระแจะ
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา พญายา
ได้จาก เนื้อไม้
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา กระแจะ
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) พญายา(กลาง ราชบุรี) ขะแจะ (เหนือ) ตุมตัง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ตะนาว (มอญ)พุดไทร ชะแจะ กระแจะจัน พินิยา ฮางแกง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Hesperethusa crenulata (Roxb.) Roem.
ชื่อพ้อง Naringi crenulata (Roxb.) Nicolson., Limonia crenulata
ชื่อวงศ์ Rutaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อนปนเหลืองอ่อนๆ ขรุขระ แตกเป็นร่องตื้นยาวตลอดแนว เนื้อไม้สีขาว ลำต้นและกิ่งมีหนาม มีหนามแข็ง และยาว หนามออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ตรง ยาวได้ถึง 2.5 เซนติเมตร เนื้อไม้เมื่อตัดมาใหม่ๆ จะมีสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน ถ้าทิ้งไว้นานๆจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนเหลืองอ่อน เปลือกต้น มีรสขม แก่น รสจืด เย็น

 

เครื่องยากระแจะ

 

เครื่องยากระแจะ

 

เครื่องยากระแจะ

 

เครื่องยากระแจะ


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:

           ไม่มีข้อมูล


สรรพคุณ:
                 ตำรายาไทย: แก่น มีรสจืด เย็น ดองเหล้ากินแก้กษัย (การป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง) บำรุงเลือด แก้กระษัย แก้โลหิตพิการ ดับพิษร้อน แก้ไข้ แก้ผอมแห้ง  เปลือกต้น มีรสขม ใช้แก้ไข้ ขับผายลม บำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น
                 ยาพื้นบ้าน: ใช้ ต้น ต้มน้ำดื่มครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น แก้ปวดตามข้อปวดเมื่อย เส้นตึง แก้ร้อนใน แก้โรคประดง (อาการโรคผิวหนังมีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมาก มักมีไข้ ร่วมด้วย)
                 ชาวพม่า: ใช้ เนื้อไม้ นำมาบด ฝน หรือทำให้เป็นผงละเอียด จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ใช้ทาผิวหนัง ทำให้ผิวเนียนสวย เป็นส่วนผสมหลักในเครื่องประทินผิวแบบโบราณหลายชนิด ใช้ผสมในเครื่องหอม ที่เรียกว่า “กระแจะตะนาว” หรือ “Thanatka” นิยมใช้กันมากในประเทศพม่า

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:

           ไม่มีข้อมูล


องค์ประกอบทางเคมี:

           ไม่มีข้อมูล


การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

           ไม่มีข้อมูล

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 7
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่