ขอนดอก
ชื่อเครื่องยา | ขอนดอก |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | เนื้อไม้ที่มีราลงของไม้พิกุล หรือไม้ตะแบก |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | พิกุล, ตะแบก |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Mimusops elengi L. (พิกุล), Lagerstroemia calyculata Kurz. (ตะแบก) |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Sopotaceae (พิกุล) Lythraceae (ตะแบก) |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ขอนดอกคือเนื้อไม้จากต้นพิกุลหรือต้นตะแบกที่มีราลง เนื้อไม้มีสีน้ำตาลเข้ม ประขาว มองเห็นเป็นจุดๆ สีขาว กระจายทั่วไป ภายในผุเป็นโพรงเล็กๆ มีกลิ่นหอม (ขอนดอก อาจได้จากต้นพิกุลหรือต้นตะแบกก็ได้ที่มีอายุมาก ยอดหักเป็นโพรง มักมีเชื้อราเจริญเข้าไปในเนื้อไม้ ไม้ยืนต้นตาย เนื้อไม้เหมือนไม้ผุ สีขาวเป็นจุดๆ ตามตำราโบราณให้ใช้ขอนดอกที่เกิดจากต้นพิกุล จึงจะมีสรรพคุณดี) ขอนดอก มีกลิ่นหอม รสจืด
เครื่องยา ขอนดอก
เครื่องยา ขอนดอก
เครื่องยา ขอนดอก
เครื่องยา ขอนดอก
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: ขอนดอก ใช้บำรุงตับ บำรุงปอด บำรุงหัวใจ บำรุงครรภ์ แก้ลมกองละเอียด แก้ลมวิงเวียน บำรุงทารกในครรภ์ ทำให้หัวใจชุ่มชื่น แก้เสมหะ แก้เหงื่อ แก้ไข้ร้อนเพื่อตรีโทษ
นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) ปรากฏการใช้ขอนดอก ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) มีส่วนประกอบของขอนดอก ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ ปรากฏรวม 2 ตำรับ คือ”ยาหอมเทพจิตร” มีสรรพคุณแก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย ใจสั่น บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในอก ในผู้สูงอายุ แก้ลมปลายไข้ (หลังจากฟื้นไข้แล้วยังมีอาการ เช่น คลื่นเหียน วิงเวียน เบื่ออาหาร ท้องอืด อ่อนเพลีย)
ตำราพระโอสถพระนารายณ์: ปรากฏการใช้ขอนดอก ร่วมกับสมุนไพรอื่นอีก 15 ชนิด ในปริมาณเท่าๆกัน บดละเอียด ทำเป็นแท่ง ใช้น้ำดอกไม้เป็นกระสายยา เมื่อจะใช้ให้ละลายน้ำซาวข้าว หรือน้ำดอกไม้ก็ได้ ใส่พิมเสนลงไปเล็กน้อย ใช้ชโลมตัวแก้ไข้
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดขอนดอก(จากไม้พิกุล)ด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 32 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 32,000 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ และเมื่อให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) เท่ากับ 7.111 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา :phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/