คำเงาะ

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำเงาะ

ชื่อเครื่องยา คำเงาะ
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
ได้จาก เมล็ด
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา คำเงาะ
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) คำแสด คำแงะ คำไทย คำยง มะกายหยุม ชาตี จำปู้ หมักซิตี ส้มปู้ ส้มบู๊ คำแฝด ดอกชาด แสด หมากมอง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bixa orellana L.
ชื่อพ้อง Bixa americana Poir., B. katangensis Delpierre, B. odorata Ruiz & Pav. ex G.Do, B. purpurea Sweet, B. upatensis Ram.Goyena, Orellana americana
ชื่อวงศ์ Bixaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เมล็ดรูปสามเหลี่ยม มีเนื้อหุ้มเมล็ดสีแดงหรือสีแสด รสร้อนหอม นำเมล็ดแช่น้ำให้ตกตะกอนได้ผงสีส้มชื่อ bixin ใช้ผสมอาหารและย้อมผ้าได้

 

เครื่องยา คำเงาะ

 

ผลและเมล็ด คำเงาะ

 

ผลและเมล็ด คำเงาะ

 

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ใช้เมล็ด เป็นยาหอม แก้ลม เป็นยาฝาดสมาน สมานบาดแผล แก้ไข้ ถ่ายเสมหะ แก้โรคผิวหนัง ขับระดู ตำพอกหรือทาแก้ปวดบวม ตำพอกหัวหน่าว แก้ปวดมดลูกหลังคลอด รักษาโรคหนองใน ไข้มาลาเรีย โรคพิษจากมันสำปะหลังและสบู่แดง รก(เนื้อหุ้มเมล็ด) รสหวานร้อน เป็นยาระบายท้อง ทา ขับพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง น้ำมันจากเมล็ด รสร้อน แก้อัมพฤกษ์อัมพาต แก้ขัดตามข้อ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:

           ไม่มีข้อมูล


องค์ประกอบทางเคมี:
           สารที่ให้สีคือ bixin, norbixin มีสารขม และสารอื่นๆ เช่น orellin

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
          เมื่อให้สารสกัดเมล็ดคำแสดทางปากแก่หนูถีบจักร ในขนาด 16 กรัม/กิโลกรัม โดยแบ่งให้ 2 ครั้ง ครั้งละ 8 กรัม/กิโลกรัม พบว่าไม่เกิดพิษเฉียบพลันใดๆ การศึกษาพิษกึ่งเฉียบพลัน เป็นระยะเวลา 28 วัน แก่หนูวิสตาร์ ในขนาด 0.24, 2.4, 12.0, 60.0 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ไม่ทำให้เกิดอาการผิดปกติ หรือพฤติกรรมของหนูเปลี่ยนแปลงไป ค่าโลหิตวิทยา เคมีคลินิก จุลพยาธิ ไม่ผิดปกติ แต่อย่างไรก็ตาม ควรใช้ในปริมาณพอเหมาะ ไม่เข้มข้นมากเกินไป

 

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 1
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่