คำฝอย
ชื่อเครื่องยา | คำฝอย |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | กลีบดอก และเกสรแห้ง |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | คำฝอย |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | ดอกคำ คำหยุม คำหยอง คำยุ่ง คำ คำยอง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Carthamus tinctorius L. |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Compositae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ดอกช่อ มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นกระจุก กลีบสีแดงถึงน้ำตาลแดง หลอดกลีบดอกยาว ผอม แบ่งเป็น 5 พู ที่ส่วนปลาย แต่ละพูยาว 5-8 มิลลิเมตร มีเกสรเพศผู้ 5 อัน ละอองเรณูสีขาวเหลือง รูปกระบอก ยอดเกสรเพศเมียทรงกระบอกยาว แตกแขนงคล้ายรูปช้อนส้อม มีกลิ่นเฉพาะ ดอกและเกสรมีรสหวานร้อน ขมเล็กน้อย
เครื่องยา คำฝอย
เครื่องยา คำฝอย
เครื่องยา คำฝอย
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 2%, ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 18% (เภสัชตำรับเกาหลี)
สรรพคุณ:
ตามตำรายาไทย: ดอก ขับระดู บำรุงประสาท บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ตกเลือด แก้ดีพิการ ขับเหงื่อ ระงับประสาท แก้ไข้ในเด็ก แก้ดีซ่าน แก้ไขข้ออักเสบ แก้หวัด น้ำมูกไหล แก้โรคฮิสทีเรีย อาการ รักษาอาการบวม รักษาท้องเป็นเถาดาน ใช้เป็นยาระบาย รักษาอาการไข้หลังคลอด ระงับอาการปวดในสตรีที่รอบเดือนมาไม่เป็นปกติ เป็นยาสามัญประจำบ้าน รักษาอาการป่วยไข้ในเด็ก บำรุงคนเป็นอัมพาต ดอกเป็นยาชงใช้ดื่มร้อนๆแก้ดีซ่าน โรคไขข้ออักเสบ เป็นหวัดน้ำมูกไหล ต้มอาบเวลาออกหัด รักษาอาการคันตามผิวหนัง เกสร บำรุงโลหิตระดู ขับระดู บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท บำรุงโลหิตและน้ำเหลืองให้ปกติ แก้ดีพิการ แก้แสบร้อนตามผิวหนัง
ตำรายาพื้นบ้านของหลายประเทศ: กล่าวว่าเนื่องจากดอกคำฝอยมีสีแดง จึงมีสรรพคุณบำบัดโรคที่เกี่ยวกับเลือด เช่น ระดู ขับเหงื่อ โดยทำเป็นยาชง ยาระบายพวกโลหิต
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
ดอกมีสารสี carthamin, isocarthamin เป็นสีแดงสดไม่ละลายน้ำ และ safflower yellow ละลายน้ำได้ สีจากดอกคำฝอยใช้บริโภคได้อย่างปลอดภัย
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดดอกย่อยด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 2,500 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ