โคคลาน

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

โคคลาน

ชื่อเครื่องยา โคคลาน
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา มะกายเครือ
ได้จาก เนื้อไม้
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา โคคลาน
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) มะปอบเครือ, กระเปี้ยะ, โพคาน, แนวน้ำ, เยี่ยวแมว, เยี่ยวแมวเถา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mallotus repandus (Willd.) Mull. Arg.
ชื่อพ้อง Adisca timoriana Span. Croton repandus Willd. Croton rhombifolius Willd. Croton volubilis Llanos Helwingia populifolia Spreng. Mallotus chrysocarpus Pamp. Mallotus contubernalis Hance Mallotus scabrifolius (A.Juss.) Müll.Arg. Mallotus scandens (Span.) Müll.Arg. Mappa scandens (Span.) Pancher ex Baill. Rottlera cordifolia Benth. Rottlera dicocca Roxb. Rottlera dioica Baill. Rottlera laccifera Voigt Rottlera repanda (Willd.) Scheff. Rottlera rhombifolia (Willd.) Thwaites Rottlera scabrifolia A.Juss. Rottlera scandens Span. Rottlera trinervis Zipp. ex Span. Rottlera viscida Blume Trewia nudifolia
ชื่อวงศ์ Euphorbiaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น ยาว 3-6 เมตร ลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกนอกสีน้ำตาลเข้ม เนื้อในสีน้ำตาลอ่อน เถามีรสขมเบื่อเย็น เปลือกเถารสเฝื่อน ไม่มีกลิ่น

 

เครื่องยา โคคลาน

 

เครื่องยา โคคลาน

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ใช้ เถา แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ครั่นตัว เส้นตึง แก้ปวดหลังปวดเอว แก้กระษัย ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ บำรุงโลหิต แก้พิษภายใน เข้ายาแก้โรคมะเร็ง
           ตำรับยาพื้นบ้านของอำเภอกุดชุม จ.ยโสธร: ชื่อ “ตำรับยาโคคลาน” ประกอบด้วยเครื่องยา 4 ชนิด คือ โคคลาน 2 ส่วน ทองพันชั่ง โด่ไม่รู้ล้ม และมะตูม อย่างละ 1 ส่วน ทำเป็นยาต้มหรือยาเม็ด สรรพคุณแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้อักเสบกล้ามเนื้อ และแก้ปวดกระดูก น้ำต้มของตำรับยามีฤทธิ์แก้ปวด และต้านการอักเสบ
           ตำรายาพื้นบ้านอีสาน: ใช้ลำต้น 100 กรัม ผสมกับทั้งต้นทองพันชั่ง และทั้งต้นโด่ไม่รู้ล้ม ชนิดละ 1 หยิบมือ ต้มน้ำดื่มแก้ปวดเมื่อย

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           สารกลุ่มไทรเทอร์ปีน, สารกลุ่ม isocoumarin ชื่อ bergenin, สารกลุ่ม diterpene lactone ชื่อ mallotucin C, D และ teucvin สารอื่นๆ เช่น  mallorepine

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ต้านเชื้อเริมที่ริมฝีปาก ลดการอักเสบ และป้องกันการเกิดพิษต่อตับ ต้านการเกิดแผลที่กระเพาะอาหาร ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการถูกทำลายโดยรังสีที่ผิวหนังและไขกระดูก

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล           

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา: phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 0
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่