ชะเอมไทย

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชะเอมไทย

ชื่อเครื่องยา ชะเอมไทย
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
ได้จาก เถา เนื้อไม้
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชะเอมไทย
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) ชะเอมป่า(กลาง) ตาลอ้อย(ตราด) ส้มป่อยหวาน(พายัพ) อ้อยช้าง(สงขลา) นราธิวาส อ้อยสามสวน (อุบลราชธานี) กอกกั๋น ย่านงาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ Albizia myriophylla Benth.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Leguminosae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เถา มีตุ่มหนามด้านๆขนาดเล็กตามลำต้นและกิ่งก้าน เปลือกไม้ผิวขรุขระสีน้ำตาล เนื้อไม้สีเหลืองอ่อนๆ มีรสหวาน

 

เครื่องยา ชะเอมไทย

 

เครื่องยา ชะเอมไทย

 

เครื่องยา ชะเอมไทย

 

เครื่องยา ชะเอมไทย

 

เครื่องยา ชะเอมไทย

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ใช้ เนื้อไม้ แก้โรคในลำคอ แก้ลม แก้เลือดออกตามไรฟัน บำรุงธาตุและบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย บำรุงกล้ามเนื้อให้เจริญ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว ต้น รสหวานเอียน ถ่ายลม แก้โรคในคอ ทำผิวหนังให้สดชื่น แก้โรคตา ราก มีรสหวาน ทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ และเป็นยาระบาย มีสรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้โลหิตอันเน่าในอุทร และเจริญซึ่งหทัยวาตให้สดชื่น แก้กำเดาให้เป็นปกติ
           ตำรายาไทย: ปรากฏ “พิกัดทศกุลาผล” คือการจำกัดจำนวนตัวยาตระกูลเดียวกัน 10 อย่าง มีชะเอมทั้ง 2 (ชะเอมไทย ชะเอมเทศ) ลูกผักชีทั้ง 2 (ผักชีล้อม ผักชีลา) อบเชยทั้ง 2 (อบเชยไทย อบเชยเทศ) ลำพันทั้ง 2 (ลำพันแดง ลำพันขาว) ลูกเร่วทั้ง 2 (เร่วน้อย เร่วใหญ่) มีสรรพคุณ แก้ไข้เพื่อดีและเสมหะ ขับลมในลำไส้ บำรุงธาตุ บำรุงปอด แก้รัตตะปิตตะโรค แก้ลมอัมพฤกษ์ อัมพาต บำรุงกำลัง บำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น แก้ไข้
           ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ใช้ ลำต้น เข้ากับเครือไส้ไก่ เครือหมาว้อ เครือตากวง ต้มน้ำดื่ม แก้โรคตับ เปลือกต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ไอ ราก ช่วยแก้กระหาย ยาระบาย เนื้อไม้ บรรเทาอาการเจ็บคอ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 61
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่