ดองดึง
ชื่อเครื่องยา | ดองดึง |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | เหง้าแห้ง |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | ดองดึง |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | คมขวาน บ้องขวาน หัวขวาน (ชลบุรี) ก้ามปู ดาวดึงส์ ว่านก้ามปู (กลาง) พันมหา (นครราชสีมา) มะขาโก้ง (เหนือ) ดองดึงหัวขวาน ด้ามขวาน หัวฟาน |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Gloriosa superba L. |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Colchicaceae (Liliaceae) |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าขนาดเล็กอยู่ใต้ดิน รูปร่างกลมเรียว มีหงอนเหมือนขวาน มีรสร้อนเมา
เครื่องยา ดองดึง
เครื่องยา ดองดึง
เครื่องยา ดองดึง
เหง้าสด ดองดึง
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: ใช้ หัว และเมล็ด แก้ปวดตามข้อ แก้โรคเรื้อน แก้คุดทะราด แก้เสมหะ ฝนน้ำ ทาแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ให้สัตว์กินเพื่อขับพยาธิ หัว รสร้อนเมา แก้โรคเรื้อน คุดทะราด แก้โรคปวดข้อ (gout) แก้กามโรค แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ขับผายลม มีสารที่ใช้รักษาโรคมะเร็งได้ หัวสด ตำพอกหรือทา แก้ปวดข้อ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ตำผสมทำยาประคบแก้ปวดข้อ (gout) แก้ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ แก้ข้ออักเสบฟกบวม หัวแห้ง ปรุงเป็นยารับประทาน รักษาโรคเรื้อน มะเร็งคุดทะราด โรคปวดข้อ แก้กามโรค ขับผายลม จะต้องใช้ในปริมาณน้อย ถ้าเกินขนาดอาจเกิดพิษได้ ราก รสเมาร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้เสมหะ ทาแก้โรคผิวหนัง แก้ปวดข้อ ตำพอกหรือทา แก้โรคผิวหนัง เรื้อน มะเร็งคุดทะราด แก้ปวดข้อ ต้มดื่ม แก้ลมจุกเสียด แก้เสมหะ ต้องใช้ปริมาณน้อย และเจือจางถ้าเข้มข้นเกินไปอาจเกิดพิษถึงตายได้
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ระบุไว้ว่า รากและเหง้า เป็นยาที่อันตรายมาก เหง้าและเมล็ดมีพิษมาก ใช้รักษาโรคมะเร็ง
ข้อควรระวัง:
การใช้ดองดึงเป็นยารักษาโรคเกาต์ ไม่ควรใช้เหง้าต้มหรือปรุงวิธีอื่นกิน อาจเป็นพิษถึงตายได้ เพราะขนาดรักษาใช้ปริมาณน้อยมาก และใกล้เคียงกับขนาดที่ทำให้เกิดพิษ ควรใช้ในรูปยาเม็ดแผนปัจจุบัน ซึ่งสามารถกำหนดขนาดรับประทานที่ปลอดภัยได้
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ห้ามประชาชนทั่วไปนำมาใช้เอง ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ เนื่องจากมีพิษมาก
องค์ประกอบทางเคมี:
แอลคาลอยด์ colchicine
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
เหง้าดองดึงเป็นพิษโดยเป็นพิษต่อการแบ่งตัวของเซลล์ และเป็นพิษต่อทางเดินอาหาร อาการของพิษจะเกิดเมื่อกินสารนี้เข้าไปประมาณ 2 ชั่วโมง จะรู้สึกแสบร้อนในปากและลำคอ คอแห้ง กระหายน้ำ โดยมีอาการเจ็บปวดตามตัว ปากและผิวหนังชา คลื่นไส้อย่างรุนแรง ท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระมีเลือดปน ปวดท้องปวดเบ่งแต่ไม่มีอุจจาระออกมา หายใจลำบาก กลืนไม่ลง ชัก หมดสติเนื่องจากร่างกายเสียน้ำมาก ตัวเย็น และอาจตายได้ใน 3-20 ชั่วโมง อุณหภูมิร่างกายจะลดลงต่ำมากก่อนเสียชีวิต จึงไม่แนะนำให้ประชาชนทั่วไปนำมาใช้เอง ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ ในการแพทย์แผนปัจจุบันใช้เหง้า สกัดเป็นสารบริสุทธิ์ ซึ่งมีแอลคาลอยด์ colchicines ทำเป็นยาเม็ดรักษาโรคเกาต์ (ปวดข้อ)
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/