กระดังงาไทย
ชื่อเครื่องยา | กระดังงาไทย |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | กระดังงา |
ได้จาก | ดอกแก่จัด |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | กระดังงาไทย |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | กระดังงาใบใหญ่, กระดังงาใหญ่, กระดังงอ, สะบันงาต้น, สะบานงา |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Cananga odorata (Lam.) Hook. f.& Thomson |
ชื่อพ้อง | Cananga mitrastigma (F.Muell.) Domin, C. odoratum (Lam.) Baill. ex King, C. scortechinii King, Canangium mitrastigma (F.Muell.) Domin, C. odoratum (Lam.) Baill. ex King, C. scortechinii King , Fitzgeraldia mitrastigma F.Muell., Unona cananga Spreng., U. leptopetala DC., U. odorata (Lam.) Dunal, U. odoratissima Blanco, U. ossea Blanco, Uvaria axillaris Roxb., U. cananga Banks, U. odorata Lam., U. ossea (Blanco) Blanco, U. trifoliata |
ชื่อวงศ์ | Annonaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ดอกแก่จัดสีเหลืองอมเขียว หรือสีเหลืองอ่อน เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 4-6 เซนติเมตร กลีบดอก มี 6 กลีบ แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบชั้นนอกรูปร่างแคบยาว ปลายเรียวแหลม ขอบหยักเป็นคลื่น กลีบดอกชั้นในสั้นและเล็กกว่าเล็กน้อย เกสรตัวผู้ และรังไข่มีจำนวนมาก เกสรรวมกันเป็นรูปกลมแป้นแบน ดอกแห้งมีสีน้ำตาลดำ ยาว 3-7 เซนติเมตร กว้าง 1-4 เซนติเมตร กลีบดอกจะหลุดออกจากกันเป็นชิ้นได้ง่าย ดอกรสหอมสุขุม มีกลิ่นหอมเฉพาะ
เครื่องยา กระดังงาไทย
เครื่องยา กระดังงาไทย
เครื่องยา กระดังงาไทย
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: น้ำมันดอกกระดังงา (ylang-ylang oil อิลาง-อิลาง) ใช้ปรุงน้ำหอม น้ำอบ ผสมยาหอม เครื่องสำอาง หรือยาอื่นๆ ใช้กลีบดอกลนไฟใช้อบน้ำให้หอม (น้ำดอกไม้) สำหรับใช้เป็นกระสายยา ดอกกระดังงามีสรรพคุณ แก้ลม ใช้ปรุงยาหอม บำรุงธาตุ บำรุงเลือด แก้อ่อนเพลีย ชูกำลัง แก้กระหายน้ำ ลดความดันโลหิต บำรุงหัวใจ แก้วิงเวียนศีรษะ แก้ไข้เนื่องจากโลหิตเป็นพิษ ดอกนำมาทอดกับน้ำมันมะพร้าวทำน้ำมันใส่ผม
ดอกกระดังงาจัดอยู่ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า “พิกัดเกสรทั้ง 7 (สัตตะเกสร)” คือจำกัดจำนวนเกสรดอกไม้ 7 อย่าง มี เกสรบัวหลวง ดอกพิกุล ดอกสารภี ดอกบุนนาค ดอกมะลิ ดอกจำปา และดอกกระดังงา มีสรรพคุณชูกำลัง บำรุงหัวใจ แก้ไข้เพื่อเสมหะ และโลหิต แก้ไข้เพ้อกลุ้ม แก้ลมวิงเวียน แก้น้ำดี แก้ไข้ แก้ไข้เพื่อปถวีธาตุ ทำให้เจริญอาหาร แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้โรคตา และจัดอยู่ใน “พิกัดเกสรทั้ง 9 (เนาวเกสร)” มีดอกลำเจียก และดอกลำดวน เพิ่มเข้ามา มีสรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ลม บำรุงหัวใจ ชูกำลัง แก้อ่อนเพลีย แก้พิษโลหิต
ดอกกระดังงา ปรากฏในตำรายาแผนโบราณ ชื่อคัมภีร์มหาโชติรัตน์ ยาชื่อมาลาสันนิบาต แก้ลมจุกคอ แก้แน่นหน้าอก แก้จุกเสียด แก้สะอึก ประกอบด้วยผลจันทน์ ดอกจันทน์ กระวาน กานพลู ลำพัน การบูร ขิงแห้ง ผลสมอ น้ำประสานทอง เถาย่านาง ดอกกระดังงา อย่างละ 1 ส่วน เทียนทั้ง 5 ดีปลีเท่ายาทั้งหลาย บดละลายน้ำร้อน แทรกขิงกิน
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
ดอกมีน้ำมันระเหยง่าย ประกอบด้วย benzyl acetate (25.1%), cresyl methyl ether (16.5%), linalool (13.6%), benzoic acid (8.7%), geranyl acetate (5.3%), benzyl benzoate (2.2%), caryophyllene (1.7%), pinene, benzyl alcohol, benzyl salicylate, geraniol, safrol, cadinene, eugenol, methyl isoeugenol, caryophyllene oxide, bergamotene, anethole, spathulenol, farnesol, linalool
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ต้านเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อรา บำรุงหัวใจ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ต้านการอักเสบ ลดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร น้ำมันหอมระเหยจากดอกมีฤทธิ์ไล่แมลงบางชนิด
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
การใช้น้ำมันกระดังงาในความเข้มข้นสูงอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และปวดศีรษะได้
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง: phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/