เทียนลวด
ชื่อเครื่องยา | เทียนลวด |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | เทียนหลอด |
ได้จาก | ผลแก่แห้ง |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | เทียนลวด (bitter fennel) |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | 1.Foeniculum vulgare Mill subsp. piperatum (Ucr.)Beguinot , 2.Centraterum anthelminticum (Willd.) Kuntze |
ชื่อพ้อง | 1.Foeniculum piperatum |
ชื่อวงศ์ | 1.Umbelliferae, 2.Compositae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
เมล็ดรูปกรวย หรือทรงกระบอก รูปร่างเรียวๆ ปลายตัด ยาว 3-8 มิลลิเมตร กว้าง 1-3 มิลลิเมตร มีเส้นสีดำตามยาวรอบเมล็ด มีกลิ่นเฉพาะ รสหวานเมื่อสัมผัสครั้งแรก ตามด้วยรสขม
เครื่องยา เทียนลวด
เครื่องยา เทียนลวด
เครื่องยา เทียนลวด
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 3% w/w, ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 10% w/w,ปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรดไม่เกิน 1.5 % w/w,ปริมาณน้ำมันระเหยง่ายไม่น้อยกว่า 0.7 มิลลิลิตร (ใช้ 50 กรัม เครื่องยา) (เภสัชตำรับเกาหลี)
สรรพคุณ:
แก้น้ำดีพิการ เป็นยาเจริญอาหารและขับลม แก้กำเดาซึ่งทำให้นอนสะดุ้ง สะทกสะท้าน แก้คลั่งเพ้อ ขับน้ำดีให้ตกในลำไส้ แก้กำเดา บำรุงผิวพรรณให้สดชื่น
เทียนลวด จัดอยู่ในพิกัดเทียนพิเศษ คือการจำกัดจำนวนตัวยาที่ชื่อว่าเทียนพิเศษ (คำย่อ ลวดแกลบขม) มี เทียนลวด(เทียนหลอด) เทียนแกลบ และเทียนขม มีสรรพคุณ แก้ลมเสมหะและดีระคนกัน แก้ลมขึ้นเบื้องสูงที่ทำให้หูอื้อตาลาย แก้ไข้ แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้ลมทำให้ขนหัวลุก
บางตำรากล่าวว่า พิกัดเทียนพิเศษ มี 4 อย่าง ได้แก่ เทียนขม เทียนลวด เทียนแกลบ และเทียนฉมต
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
พบสารเคมี ชื่อ rotundifolone
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
มีรายงานการทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดเมล็ดเทียนลวด พืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ Vernonia anthelminticum (Willd.) พบว่าสารสกัดด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 50,000 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่ตรวจพบอาการเป็นพิษ