ไทรย้อย
ชื่อเครื่องยา | ไทรย้อย |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | รากอากาศ |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | ไทรย้อย |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | ไทรย้อยใบแหลม ไทรกระเบื้อง ไซรย้อย ไฮ จาเรย |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Ficus benjamina L. |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Moraceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
รากอากาศ รากเล็ก เป็นเส้นสีน้ำตาล กลมๆ ยาวเหมือนเส้นลวดย้อยลงมาจากต้น รากอากาศขนาดใหญ่จะมีเนื้อไม้ รสจืด ฝาด
เครื่องยา ไทรย้อย
เครื่องยา ไทรย้อย
เครื่องยา ไทรย้อย
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: ใช้รากอากาศ ต้มดื่ม ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา ขับปัสสาวะให้คล่อง แก้นิ่ว แก้ปัสสาวะมีสีต่างๆ บำรุงน้ำนม แก้กระษัยไตพิการ แก้กาฬโลหิต
ตำรายาไทยมีการใช้รากไทรย้อยใน “พิกัดตรีธารทิพย์” คือการจำกัดจำนวนตัวยาที่มีรสดังน้ำทิพย์ 3 อย่าง มีรากไทรย้อย รากราชพฤกษ์ รากมะขามเทศ สรรพคุณบำรุงน้ำนม แก้กษัย ฆ่าเชื้อคุดทะราด แก้ท้องร่วง
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
ไม่มีข้อมูล