บัวขม

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บัวขม

ชื่อเครื่องยา บัวขม
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
ได้จาก ดอกบัวขม
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา บัวขม
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nymphaea lotus L. var. pubescens Hook.f. & Th.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Nymphaeaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ดอกสีขาว เมื่ออบแห้งแล้วมีสีน้ำตาล กลีบเลี้ยง ยาว 4-5 เซนติเมตร มีกลีบดอก 19 กลีบ รูปหอกกลับ ชั้นเกสรตัวผู้มีลักษณะแบน 60 อัน เกสรตัวผู้ยาว 2 เซนติเมตร รสฝาดหอมเย็น  

เครื่องยา บัวขม

 

เครื่องยา บัวขม

 

เครื่องยา บัวขม

 

เครื่องยา บัวขม

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล
    
สรรพคุณ:
           บัวขม ถูกจัดอยู่ในพิกัดบัวพิเศษ มี 6 อย่างคือ บัวหลวงแดง บัวหลวงขาว บัวสัตตบงกชแดง บัวสัตตบงกชขาว บัวเผื่อน และบัวขม ตามสรรพคุณโบราณ ใช้แก้ไข้อันเกิดเพื่อธาตุทั้ง 4  แก้ลม เสมหะ และโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ทำให้แช่มชื่น  แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้ตัวร้อน 
           ดอกบัวขมเป็นส่วนประกอบในตำรับยาที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม กลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต ในบัญชียาหลักแห่งชาติ (บัญชียาจากสมุนไพร ปี 2549) คือตำรับยาหอมเทพจิตร โดยมีดอกบัวขมร่วมกับสมุนไพรอื่นๆอีกหลายชนิดในตำรับ มีสรรพคุณแก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย (อาการที่รู้สึกใจหวิววิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่าจะเป็นลม ) ใจสั่น และบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น (ทำให้สุขใจ สบายใจ อารมณ์แจ่มใส คลายเครียด)
           ประเทศฟิลิปปินส์: ใช้รักษาโกโนเรีย (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)  นำมาถูที่หน้าผาก ทำให้ง่วงนอน

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           myricetin-30-O-(600-p-coumaroyl) glucoside, 1,2,3,4,6-Pentagalloylglucose, myricetin-3-O-rhamnoside (myricitrin), myricetin-30-O-(600-p-coumaroyl) glucoside, nympholide A, nympholide B

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล
 
การศึกษาทางพิษวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

การทดสอบความเป็นพิษ:
           ไม่มีข้อมูล

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 31
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่