บัวเผื่อน

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บัวเผื่อน

ชื่อเครื่องยา บัวเผื่อน
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
ได้จาก ดอก
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา บัวเผื่อน
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) บัวแบ้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Nymphaea stellata Willd.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Nymphaeaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ดอกเดี่ยว สีกลีบดอกจะเผื่อนระหว่างสีขาวคราม และสีชมพูอ่อน ดอกที่อบแห้งแล้วมีสีกลีบน้ำตาลอมชมพู ดอกบานจะแผ่เป็นรูปถ้วย  ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-10 เซนติเมตร  กลีบดอกซ้อนกัน  มีราว 20 กลีบ  กลีบเลี้ยง และกลีบดอกเรียวยาว  ปลายแหลม  เกสรเพศผู้จำนวนมาก และพบก้านชูเกสรเพศผู้ ดอกไม่หอม รสฝาดหอมเย็น  

 

เครื่องยา บัวเผื่อน

 

เครื่องยา บัวเผื่อน

 

เครื่องยา บัวเผื่อน

 

เครื่องยา บัวเผื่อน

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ:
           บัวเผื่อน ถูกจัดอยู่ในพิกัดบัวพิเศษ มี 6 อย่างคือ บัวหลวงแดง บัวหลวงขาว บัวสัตตบงกชแดง บัวสัตตบงกชขาว บัวเผื่อน และบัวขม ตามสรรพคุณโบราณ ใช้แก้ไข้อันเกิดเพื่อธาตุทั้ง 4  แก้ลม เสมหะ และโลหิต บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ ทำให้แช่มชื่น  แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้ตัวร้อน  บำรุงครรภรักษา
           ดอกบัวเผื่อนเป็นส่วนประกอบในตำรับยาที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม กลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต ในบัญชียาหลักแห่งชาติ (บัญชียาจากสมุนไพร ปี 2549) คือตำรับยาหอมเทพจิตร โดยมีดอกบัวเผื่อนร่วมกับสมุนไพรอื่นๆอีกหลายชนิดในตำรับ มีสรรพคุณแก้ลมกองละเอียด ได้แก่ อาการหน้ามืด ตาลาย สวิงสวาย (อาการที่รู้สึกใจหวิววิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่าจะเป็นลม ) ใจสั่น และบำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น (ทำให้สุขใจ สบายใจ อารมณ์แจ่มใส คลายเครียด)

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           สารสกัดดอกบัวเผื่อนด้วย 20% แอลกอฮอล์ มีฤทธิ์ปกป้องตับหนูจากการถูกทำลายด้วยสารคาร์บอนเตตราคลอไรด์ โดยสามารถลดระดับ ALT, AST, ALP และ bilirubin
           สาร Nymphagol จากดอก ลดระดับน้ำตาลในเลือด และเพิ่มระดับอินซูลิน และยังเพิ่มจำนวน ? - cell  ของตับอ่อน ในหนูได้     

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 21
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่