เปราะป่า

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

เปราะป่า

ชื่อเครื่องยา เปราะป่า
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา ตูบหมูบ
ได้จาก เหง้า
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา เปราะป่า
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) ตูบหมูบ (อุบลราชธานี ตะวันออกเฉียงเหนือ); เปราะเถื่อน (ปราจีนบุรี ชพ);เปราะเขา เปราะป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia marginata Carey
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Zingiberaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           มีเหง้าสั้น ขนาดเล็ก เหง้าหลักทรงกลม สีน้ำตาล ที่ผิวมีรอยข้อปล้องชัดเจน ออกรากจากเหง้าหลักเป็นเส้นกลมยาว เหง้าใต้ดิน มีกลิ่นหอม รสร้อน เผ็ดขมจัด

 

เครื่องยา เปราะป่า

 

เปราะป่า(เหง้าสด)

 

เปราะป่า

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล
 
สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ใช้ เหง้าใต้ดิน รสเผ็ดขมจัด แก้ไข้ แก้หวัด แก้กำเดา ขับลมในลำไส้ ตำผสมกับหัวหอม สุมกระหม่อมเด็ก แก้หวัด แก้กำเดา
           ยาพื้นบ้านอีสาน: ใช้ เหง้าใต้ดิน ตำพอก แก้อาการอักเสบ เนื่องจากแมลงสัตว์ กัดต่อย หรือผสมใบหนาดใหญ่ ต้มน้ำดื่ม แก้อัมพาต เข้าตำรับยาอายุวัฒนะ(มุกดาหาร)
           ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ใช้ หัว มีกลิ่นหอม รสร้อน ขมจัด ทำลูกประคบ แก้ฟกช้ำ ใช้แก้ไข้ แก้หวัด แก้กำเดา ขับลมในลำไส้

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 9
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่