เปล้าน้อย
ชื่อเครื่องยา | เปล้าน้อย |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | ใบ |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | เปล้าน้อย |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | เปล้าท่าโพ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Croton fluviatilis Esser |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Euphorbiaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ใบก้านใบยาว 1-3.5 มิลลิเมตร มีขนสั้นนุ่มประปราย แผ่นใบตรงแคบยาว กว้าง 1.5 -2.44 เซนติเมตร ยาว 10-17 เซนติเมตร แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ฐานใบแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อยเป็นระยะ ขนาด 5-7 มิลลิเมตร ถึงเกือบเรียบ ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนกระจายบนเส้นกลางใบเล็กน้อย หรือเกือบเกลี้ยง ไม่มีนวล มีต่อมที่ฐานของก้านใบ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.7-1.0 มิลลิเมตร เส้นใบข้าง 11-16 คู่
เครื่องยา เปล้าน้อย
เครื่องยา เปล้าน้อย
เครื่องยา เปล้าน้อย
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: ใบ รสร้อน แก้คันตามตัว รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ดี เปลือกและใบ รักษาโรคท้องเสีย บำรุงโลหิตประจำเดือน รักษาโรคผิวหนัง ราก รสร้อน แก้ลมขึ้นเบื้องบนให้เป็นปกติ
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
สาร “เปลาโนทอล” (plaunotol) ครั้งละ 80 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ อาการจะดีขึ้นถึง 80-90% อาจมีอาการข้างเคียงบ้างคือ ผื่นคัน ท้องร่วง แน่นท้อง ท้องผูก
องค์ประกอบทางเคมี:
ในใบมีสารสำคัญคือ “เปลาโนทอล” (plaunotol) ทำให้การหลั่งกรดในกระเพาะน้อยลง และกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อทำให้แผลหายเร็วขึ้น มีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหาร
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/