ฝาง

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ฝาง

ชื่อเครื่องยา ฝาง
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
ได้จาก แก่น
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ฝาง
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) ฝางเสน ฝางส้ม ง้าย ขวาง หนามโค้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Caesalpinia sappan L.
ชื่อพ้อง Biancaea sappan (L.) Tod.
ชื่อวงศ์ Leguminosae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เนื้อไม้สีเหลืองส้ม แก่นมีสีแดง ถูกอากาศนานเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เสี้ยนตรง เนื้อแข็งละเอียด แก่นที่มีสีแดงเข้ม รสขมหวาน เรียกว่าฝางเสน อีกชนิด แก่นสีเหลืองอมส้ม รสฝาดขื่น ขม เรียกว่าฝางส้ม  เครื่องยาฝางมีกลิ่นอ่อน ฝาดเล็กน้อย

 

เครื่องยา ฝางเสน


 

เครื่องยา ฝางส้ม

 

 

เครื่องยา ฝางส้ม

 

 

เครื่องยา ฝางส้ม

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
          ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 3% w/w, ความชื้นไม่เกิน 13% w/w, ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 2.5% w/w ปริมาณสิ่งสกัดด้วย 50%เอทานอล ไม่น้อยกว่า 5% w/w (เภสัชตำรับเกาหลี)
 
สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: แก่นต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต แก้ปอดพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง ธาตุพิการ แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ขับเสมหะ แก้ไอ ขับระดู เป็นยาบำรุงโลหิตสตรี แก้กำเดา ทำโลหิตให้เย็น แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา แก้คุดทะราด แก่นฝนกับน้ำเป็นยาทาภายนอกในโรคผิวหนังบางชนิด ฆ่าเชื้อโรค ขับหนอง น้ำต้มแก่นใช้แต่งสีแดงของน้ำยาอุทัย
           ตำราพระโอสถพระนารายณ์: ระบุว่ายาแก้ความผิดปกติของอาโปธาตุหรือธาตุน้ำ ประกอบด้วยเครื่องยาสองสิ่งคือ เปลือกมะขามป้อมและฝางเสน ปริมาณเท่ากัน ต้มน้ำกิน 4 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน กินแก้ท้องเสียอย่างแรงและบิด

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           1.แก้ท้องร่วง ตำรายาไทยใช้แก่นฝางหนัก 3-9 กรัม ต้มกับน้ำ 500 มิลลิลิตร เคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง ดื่มแก้ท้องร่วง
           2.แก้น้ำกัดเท้า แก่นฝาง 2 ชิ้น ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ ทาบริเวณน้ำกัดเท้าช่วยฆ่าเชื้อ สมานแผล

องค์ประกอบทางเคมี:
           สารให้สีชมพูอมส้มถึงแดง (sappan red)คือ brazilin และพบ tannin



ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง            : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 1
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่