ปลาไหลเผือกน้อย

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ปลาไหลเผือกน้อย

ชื่อสมุนไพร ปลาไหลเผือกน้อย
ชื่ออื่นๆ เอี่ยนด่อน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)ในภาษาอีสาน “เอียน” แปลว่าปลาไหล “ด่อน” คือสีขาวซีดเผือก
ชื่อวิทยาศาสตร์ Eurycoma harmandiana Pierre.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Simaroubaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ไม้พุ่มขนาดเล็ก เตี้ย มีรากแก้วขนาดใหญ่เพียงรากเดียว สูงประมาณ 10-30 เซนติเมตร ใบประกอบแบบขนนก ใบประกอบยาว 8-18 เซนติเมตร เรียงสลับ ใบย่อย 11-17 ใบ เรียงตรงข้ามรูปแถบ กว้าง 3-5 มิลลิเมตร ยาว 3-7 เซนติเมตร ใบย่อยมี 2-5 คู่ ปลายใบแหลมสั้นๆ โคนใบเบี้ยว เส้นใบเห็นไม่ชัดเจน ปลายโค้งจรดกัน เส้นกลางใบนูนเล็กน้อยด้านบน นูนเด่นชัดด้านล่าง ใบไร้ก้าน ผิวใบเรียบเป็นมัน ดอกช่อแยกแขนง ออกที่ซอกใบขนานกับพื้นดิน ช่อดอกยาวได้ประมาณ 15 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม ไม่มีขนต่อม ดอกย่อยหลายดอก แยกเพศ สีแดงแกมม่วง กลีบดอกรูปขอบขนาน ยาว 3-3.5 มิลลิเมตร มีขนทั้งสองด้าน เกสรเพศผู้ 5 อัน ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร มีขนสั้นนุ่ม รังไข่ลดรูปในดอกเพศผู้ ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว ยอดเกสรรูปโล่ ก้านดอกยาวได้ประมาณ 5 มิลลิเมตร ใบประดับรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ร่วงง่าย หลอดกลีบเลี้ยงสั้น กลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยม ยาว 1-1.5 มิลลิเมตร ผลสด มีประมาณ 5 ผลย่อย ทรงรี ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ก้านผลสั้นๆ เปลือกนอกบาง มีเขตการกระจายพันธุ์ในเฉพาะในลาวและกัมพูชา ในไทยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบขึ้นหนาแน่นในป่าเต็งรังโปร่งที่เป็นทุ่งหญ้า ระดับความสูงจนถึงประมาณ 300 เมตร

 

ลักษณะวิสัย

 

ใบ  และ  ดอก

 

ช่อดอก

 

ดอก

 

ดอกที่ติดผล

 

ผลอ่อน

 

ผลอ่อน

 

ผลสุก

 

ผลสุก

 

ลำต้น  และ  รากใต้ดิน

 

ลำต้น  และ  รากใต้ดิน

 


สรรพคุณ    
              ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ แก้ปวด แก้ไข้มาลาเรีย ช่วยบำรุงกำลัง ฝนกับน้ำทา แก้ฝีหนอง  ฝนน้ำกิน มีรสเบื่อมา ใช้เลิกเหล้า นำรากมาผสมกับพญายา และพริกป่า ต้มน้ำกินแก้ไข้
              ยาพื้นบ้านอีสาน  ใช้ ราก แก้ไข้ ไข้มาลาเรีย

 

ข้อมูลเครื่องยา :           phar.ubu.ac.th/herb-thaicrudedrug/

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 12
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่