ปลาไหลเผือกน้อย
ชื่อเครื่องยา | ปลาไหลเผือกน้อย |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | ราก |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | ปลาไหลเผือกน้อย |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | เอี่ยนด่อน (ตะวันออกเฉียงเหนือ)ในภาษาอีสาน “เอียน” แปลว่าปลาไหล “ด่อน” คือสีขาว ตรึงบาดาล หยิกบ่ถอง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Eurycoma harmandiana Pierre |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Simaroubaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
มีรากแก้วขนาดใหญ่เพียงรากเดียว รากยาว สีขาวนวล รากที่มีอายุหลายปีจะมีความยาวมาก อาจยาวมากกว่า 2 เมตร รากมีรสขม เบื่อเมาเล็กน้อย
เครื่องยา ปลาไหลเผือกน้อย
เครื่องยา ปลาไหลเผือกน้อย
เครื่องยา ปลาไหลเผือกน้อย ที่ขายในฝั่งประเทศลาว
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: ใช้ส่วนเปลือกลำต้น แก้ไข้พิษ ไข้จับสั่น ไข้เหือดหัด ไข้สันนิบาต ไข้ทรพิษ และแก้เบาพิการ รากมีรสขม ใช้เป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด ถ่ายพิษทุกชนิด แก้ลม แก้วัณโรค ถ่ายฝีในท้อง ขับเหงื่อ ขับพยาธิ แก้เจ็บคอ แก้กาฬโรค และรักษาความดันโลหิตสูง ถ่ายพิษเสมหะและโลหิต
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ใช้ราก ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ แก้ปวด แก้ไข้มาลาเรีย ช่วยบำรุงกำลัง ฝนกับน้ำทา แก้ฝีหนอง ฝนน้ำกิน มีรสเบื่อมา ใช้เลิกเหล้า นำรากมาผสมกับพญายา และพริกป่า ต้มน้ำกินแก้ไข้
นอกจากนั้นยังใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยาโบราณ: ได้แก่ “ยาสามราก” (ประกอบด้วยรากพืช 3 ชนิดคือ รากโลดทะนง รากฮังฮ้อน และรากปลาไหลเผือก) ทำให้อาเจียน และถ่าย ใช้ล้างพิษยาเสพติด ใช้บำบัดผู้ที่ติดยาเสพติด และแก้อาการลงแดงจากยาเสพติด โดยยานี้จะทำให้อาเจียน และถอนพิษยา
เข้าตำรับ “ยาประสะเหมือดคน” แก้ไข้ แก้ร้อนใน นอกจากนั้นยังใช้รากมาผสมหญ้าแห้วหมู และรากผักติ้ว ต้มน้ำดื่มแก้ปัสสาวะขัด เป็นส่วนประกอบในตำรับยาจันทน์ลีลา ใช้รักษาไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ตำรายาไทยใช้รากแก้ไข้ โดยใช้รากแห้งครั้งละ 1 กำมือ (หนัก 8-15 กรัม) ต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหาร วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
องค์ประกอบทางเคมี:
สารที่มีรสขมในรากปลาไหลเผือกคือ eurycomalactone, eurycomanol และ eurycomanone
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ฆ่าเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย (Plasmodium falciparum) ในหลอดทดลอง เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งปอด เซลล์มะเร็งเต้านม มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ HIV ในหลอดทดลอง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ จากการทดลองในหนู พบว่าสารสกัดปลาไหลเผือกสามารถเพิ่มการสร้างฮอร์โมนเพศชายที่ชื่อ testosterone เพิ่มความต้องการทางเพศของหนูเพศผู้ โดยเพิ่มทั้งปริมาณและความแข็งแรงของ sperm เพิ่มมวล และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และลดไขมัน
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/