เถาวัลย์เปรียง

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

เถาวัลย์เปรียง

ชื่อสมุนไพร เถาวัลย์เปรียง
ชื่ออื่นๆ เครือเขาหนัง เถาตาปลา พานไสน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Derris scandens (Roxb.) Benth.
ชื่อพ้อง Brachypterum scandens (Roxb.) Wight, Brachypterum scandens Benth., Brachypterum timorense Benth., Dalbergia scandens Roxb., Dalbergia scandens Roxb., Deguelia timoriensis (DC.) Taub., Derris timoriensis (DC.) Pittier, Galedupa frutescens Blanco, Millettia litoralis
ชื่อวงศ์ Leguminosae-Papilionoideae (Fabaceae)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

          ไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ ยาว 7-15 เซนติเมตร ใบย่อย กว้าง 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ใบย่อย 4-8 คู่ รูปไข่กลับแกมขอบขนาน หรือรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือหยักเว้าเล็กน้อย ผิวด้านบนเกลี้ยง เป็นมัน ด้านล่างมีขนสั้นๆ ทอดนอนปกคลุม  ดอก เป็นดอกแบบช่อกระจะ ช่อดอกยาวถึง 45 เซนติเมตร ห้อยลง ออกที่ซอกใบ มีดอกย่อยรูปร่างคล้ายดอกถั่ว กลีบดอกสีขาวถึงสีชมพู มักออกดอกจำนวนมากพร้อมกันทั้งต้นดูสวยสะดุดตา มีกลิ่นหอมอ่อนๆกลีบเลี้ยงรูปถ้วย สีม่วงแดง  ผล เป็นฝักเกลี้ยง กว้าง 9-12 มิลลิเมตร ยาว 2.5-7.5 เซนติเมตร เรียว ยาวแบน โค้งเล็กน้อยด้านหนึ่ง พอแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีเมล็ด 1-4 เมล็ด พบตามป่าโปร่ง ชายป่าละเมาะ ตามเรือกสวน

 

                                                            

                                                                                                                                  ลักษณะวิสัย

 

                                                             

                                                                                                                                  ลักษณะวิสัย

 

                                                             

                                                                                                                                   ใบ และเถา

 

 

                                                                

                                                                                                                                    ใบ และเถา

 

 

                                                               

                                                                                                                                  เถา

 

                                                              

                                                                                                                                   ใบ

 

                                                             

                                                                                                                                  ช่อดอก

 

 

                                                             

                                                                                                                                   ช่อดอก

 

                                                             

                                                                                                                                  ช่อดอก

 

                                                            

                                                                                                                                   ใบอ่อน และฝักแก่

 

สรรพคุณ:

          ตำรายาไทย เถา รสเฝื่อนเอียน ต้มรับประทานถ่ายเส้น บรรเทาอาการปวดเมื่อย แก้ไข้ ถ่ายเสมหะ ถ่ายเส้นทำให้เส้นอ่อนและหย่อนดี ไม่ทำให้ถ่ายท้อง เถาตากแห้งคั่วไฟให้หอม ชงกินแทนน้ำชา ใช้ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้เหน็บชา แก้กระษัย แก้บิด แก้เส้นเอ็นขอด แก้เส้นเอ็นพิการ แก้เมื่อยขบตามร่างกาย ราก รสเฝื่อนเมา ใช้เบื่อปลา ฆ่าแมลงใช้ขับปัสสาวะ ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ

 

 

ข้อมูลเครื่องยา                             : phar.ubu.ac.th/herb-thaicrudedrug/

ข้อมูลตำรับยาผสมเถาวัลย์เปรียง  : phar.ubu.ac.th/herb-thairemedy/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 29
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่