บุกคางคก
ชื่อสมุนไพร | บุกคางคก |
ชื่ออื่นๆ | มันซูรัน (กลาง) บุกคุงคก (ชลบุรี) เบีย เบือ บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน) หัวบุก (ปัตตานี) บักกะเดื่อ(สกลนคร) กระบุก(บุรีรัมย์) บุกรอ หัววุ้น |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Amorphophallus paeoniifolius (Dennst.) Nicolson. |
ชื่อพ้อง | Amorphophallus campanulatus |
ชื่อวงศ์ | Araceae |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 5 ฟุต เจริญเติบโตในฤดูฝน และพักตัวในฤดูหนาว มีหัวใต้ดินขนาดใหญ่ สีน้ำตาล มีอายุอยู่ได้นานหลายปี ลำต้นกลม อวบน้ำ ไม่มีแก่น ผิวขรุขระ มีลายสีเขียวสีแดง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกที่ปลายยอด ใบแผ่ออกคล้ายกางร่มแล้วหยักเว้าเข้าหาเส้นกลางใบ ขอบใบจักเว้าลึก ก้านใบยาว 150-180 เซนติเมตร กลม อวบน้ำ ดอกออกเป็นช่อแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน บริเวณโคนต้น เป็นแท่งมีลายสีเขียวหรือสีแดงแกมสีน้ำตาลแล้วแต่พันธุ์ ช่อดอกมีกาบหุ้ม ลักษณะเป็นแท่งสีแดงแกมน้ำตาล ก้านช่อดอกสั้น มีใบประดับ รูปกรวยหุ้มช่อดอก ขอบหยักเป็นคลื่น และบานออก ปลายช่อ ดอกเป็นรูปกรวยคว่ำขนาดใหญ่ ยับเป็นร่องลึก สีแดงอมน้ำตาลหรือสีม่วงเข้ม ดอกตัวผู้อยู่ตอนบน ดอกตัวเมียอยู่ตอนล่าง มีกลิ่นเหม็นคล้ายซากสัตว์เน่า ผลรูปทรงรียาว เป็นผลสด เนื้อนุ่ม ผลอ่อนสีเขียว พอสุกเป็นสีเหลือง สีส้มจนถึงแดง มีจำนวนมากติดกันเป็นช่อ หัวบุกมีลักษณะค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 15 เซนติเมตรขึ้นไป เนื้อในหัวสีชมพูสด เหลืองอมชมพู หรือขาวเหลือง ลำต้นใช้ใส่แกงเป็นอาหารได้
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ต้นอ่อน
ต้นอ่อน
ต้นอ่อน
ใบ
ผลอ่อน
ผลอ่อน
ผล
ผล
สรรพคุณ
ตำรายาไทย ใช้ หัว มีรสเบื่อเมา คัน กัดเสมหะเถาดาน แก้เลือดจับเป็นก้อน หุงกับน้ำมัน ใส่บาดแผล กัดฝ้าและกัดหนองดี (สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยระหว่างพักฟื้น เป็นอาหารดูดสารพิษ ขจัดไขมันในเลือด และปรุงอาหารรักษาสุขภาพ) นำหัวมาต้มกับน้ำ แก้โรคตับ โรคท้องมาน ยากัดเสมหะ แก้ไอ
ญี่ปุ่น ใช้ ทำอาหารลดความอ้วน
องค์ประกอบทางเคมี
หัวบุกมีสารสำคัญคือ กลูโคแมนแนน (glucomannan) เป็นโพลีแซคคาไรด์ น้ำหนักโมเลกุล 200,000 ถึง 2,000,000 ดาลตัน มีคุณสมบัติคล้ายเพคติน พบว่าสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลในหลอดทดลอง และใช้กับผู้ป่วยเบาหวานเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ข้อมูลเครื่องยา :phar.ubu.ac.th/herb-thaicrudedrug/
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/