บุก
ชื่อเครื่องยา | บุก |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | หัวใต้ดิน |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | บุก |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | มันซูรัน (กลาง) บุกคุงคก (ชลบุรี) เบีย เบือ บุกหนาม บุกหลวง (แม่ฮ่องสอน) หัวบุก (ปัตตานี) บักกะเดื่อ(สกลนคร) กระบุก(บุรีรัมย์) บุกรอ หัววุ้น |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Amorphophallus paeoniifolius (Dennst.) Nicolson. |
ชื่อพ้อง | Amorphophallus campanulatus |
ชื่อวงศ์ | Araceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
หัวใต้ดินขนาดใหญ่ สีน้ำตาล มีอายุอยู่ได้นานหลายปี หัวบุกมีลักษณะค่อนข้างกลม มีขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 15 เซนติเมตรขึ้นไป หัวสีน้ำตาล ผิวขรุขระ เนื้อในหัวสีชมพูสด เหลืองอมชมพู หรือขาวเหลือง หัวสดมีเมือกลื่น หัวสดอาจหนักถึง 20 กก. มีรสเบื่อเมา คัน
เครื่องยา บุก
เครื่องยา หัวบุก
หัวบุกสด และ ผล
หัวบุกสด
หัวบุกสด
หัวบุกสด
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: หัว มีรสเบื่อเมา คัน กัดเสมหะเถาดาน แก้เลือดจับเป็นก้อน หุงกับน้ำมัน ใส่บาดแผล กัดฝ้าและกัดหนองดี เป็นอาหารดูดสารพิษ ขจัดไขมันในเลือด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยระหว่างพักฟื้น และปรุงอาหารรักษาสุขภาพ นำหัวมาต้มกับน้ำ แก้โรคตับ โรคท้องมาน ยากัดเสมหะ แก้ไอ
ญี่ปุ่น: ใช้ทำอาหารลดความอ้วน
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ผงบุก 3-5 กรัม ต่อวัน หรือ เฉลี่ยครั้งละ 1 กรัม โดยกินก่อนอาหารครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง แล้วดื่มน้ำตาม 1-2 แก้ว แป้งบุกนิยมใช้ทำผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่มรูปแบบต่างๆ สำหรับลดน้ำหนัก ลดความอ้วน และลดไขมันในเลือด
องค์ประกอบทางเคมี:
หัวประกอบด้วยกลูโคแมนแนน (Glucomannan) เป็นเส้นใยธรรมชาติที่มีน้ำหนักมวลโมเลกุลสูงมาก (ultra-high molecular-weight polysaccharide) คือประมาณ 2,000,000 ดัลตัน สกัดได้จากหัวใต้ดิน โดยผ่านขั้นตอนการล้าง และสกัดสารพิษต่างๆออก โดยเฉพาะสารที่ทำให้เกิดอาการคันคอ หรือระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร โมเลกุลของกลูโคแมนแนน ประกอบด้วยน้ำตาลสองชนิดคือ กลูโคส และแมนโนส ในสัดส่วน 2:3 โดยประมาณ เชื่อมต่อกันระหว่างคาร์บอนตำแหน่งที่ 1 ของน้ำตาลชนิดที่สอง กับคาร์บอนตำแหน่งที่ 4 ของน้ำตาลชนิดแรก แบบ ?-1, 4-glucosidic linkage แตกต่างจากแป้งที่พบในพืชทั่วๆไป จึงไม่ถูกย่อยโดยกรด และน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร เพื่อให้น้ำตาลที่ให้พลังงานได้ แป้งจากหัวบุกประกอบด้วย กลูโคแมนแนน ประมาณ 90% และสิ่งเจือปนอื่นๆ เช่น starch, alkaloid, สารประกอบไนโตเจนต่างๆ sulfates, chloride, และสารพิษอื่น และตรวจพบผลึกของแคลเซียมออกซาเลทในเนื้อหัวบุกป่าจำนวนมาก กลูโคแมนแนสามารถดูดน้ำ และพองตัวได้ถึง 200 เท่า ของปริมาณเดิม เมื่อกินกลูโคแมนแนนครั้งละ 1 กรัม โดยประมาณ ก่อนอาหารราวครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง กลูโคแมนแนนจะดูดน้ำที่มีมากในกระเพาะอาหาร แล้วพองตัวทำให้รู้สึกอิ่มในระดับหนึ่ง จึงกินอาหารได้น้อยลง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
1. ใช้ในการควบคุมน้ำหนักตัว และลด cholesterol กลูโคแมนแนนที่พองตัวจะห่อหุ้มอาหารที่กินเข้าไป ไม่ให้สัมผัสกับน้ำย่อย จึงใช้ในการควบคุมน้ำหนักตัว นอกจากนี้ยังสามารถดูดซับไขมัน และกรดน้ำดี (bile acid) และขับถ่ายออกนอกร่างกาย จึงช่วยลดระดับ cholesterol และ triglyceride
2. ลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากลดการดูดซึมน้ำตาลกลูโคส
3. ช่วยในการขับถ่าย และระบาย การพองตัวของกลูโคแมนแนนในทางเดินอาหาร จะกระตุ้นทางเดินอาหารส่วนล่าง โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ให้บีบตัวขับกากอาหารที่คั่งค้างออกมา จึงอาจช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้
โดยสรุปกลูโคแมนแนน ที่สกัดได้จากบุก นอกจากใช้ในการควบคุมน้ำหนัก ยังช่วยลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคกระเพาะอาหารเป็นแผล (จากกรด และน้ำย่อย) และมีผลช่วยผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง และเบาหวานได้
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
ตรวจพบผลึกของแคลเซียมออกซาเลทในเนื้อหัวบุกป่าจำนวนมาก ทำให้คัน
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/