เมื่อยแดง

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

เมื่อยแดง

ชื่อเครื่องยา เมื่อยแดง
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา เมื่อยดูก
ได้จาก ลำต้น เนื้อไม้
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา เมื่อยแดง
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) เมื่อย ม่วย (นครราชสีมา ตราด) เมื่อยเลือด (หนองคาย) ม่วยแดง (อุบลราชธานี) กำแพงเพชรเจ็ดชั้น (กระบี่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gnetum macrostachym Hook.f.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Gnetaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ไม้พุ่มรอเลื้อย เถาเป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกเถาสีน้ำตาลอ่อน

 

เครื่องยา เมื่อยแดง

 

เครื่องยา เมื่อยแดง

 

เครื่องยา เมื่อยแดง

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล
 
สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ใช้ เถา รสขื่นเฝื่อน แก้เมื่อย ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ทำให้จิตใจชุ่มชื่น ทำให้แข็งแรง    
           ยาพื้นบ้านอีสาน: ใช้ ลำต้น ดองเหล้าดื่ม แก้ปวดเมื่อย ผสมแก่นกัดลิ้น ลำต้นขมิ้นเครือ และลำต้นพรมคตต้มน้ำดื่ม แก้อัมพฤกษ์ อัมพาต

           ยาพื้นบ้านภาคใต้ใช้ ลำต้น ผสมลำต้นตีนเป็ดน้ำ หรือรากหมากหมก ลำต้นเถาเอ็นอ่อน และแก่นกันเกรา ต้มน้ำดื่ม บำรุงเส้นเอ็น ผสมสมุนไพรอื่น แช่เหล้าดื่ม บำรุงกำลัง ผสมสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิตสตรี

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

 

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 17
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่