ลิเภา

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ลิเภา

ชื่อเครื่องยา ลิเภา
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
ได้จาก เถา ใบ
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ลิเภา
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) กูดเครือ กูดก้อง กูดงอดแงด กูดแพะ กูดย่อง ผักตีน ต๊กโต (เหนือ); กระฉอก (ประจวบคีรีขันธ์); กะฉอด(ราชบุรี); ตะเภาขึ้นหน (ประจวบคีรีขันธ์, ใต้); เฟิร์นตีนมังกร (กรุงเทพมหานคร); หมอยแม่ม่าย (ราชบุรี นครราชสีมา); หลีเภา (ใต้); ลิเภาย่อง กูดก๊อง ย่านลิเภา หญ้ายายเภา สายพานผี งอแง หมอยยายชี ตีนตะขาบ ลิเภาใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lygodium polystachyum Wall.ex Moore
ชื่อพ้อง Lygodium flexuosm
ชื่อวงศ์ Schizaeaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น แกนกลางมีลักษณะเป็นเถาเลื้อย แกนกลางใบประกอบชั้นที่หนึ่งชัดเจน โคนก้านใบสีน้ำตาล ส่วนบนสีเหลืองน้ำตาล มีขนสีน้ำตาล มีปีกแผ่ยื่นออกมาไม่ชัดเจนหรือไม่มี ใบย่อยเรียงแบบสลับบนแกนกลางของใบ ใบย่อยที่ไม่สร้างสปอร์ ก้านใบย่อยยาว 2-4 มิลลิเมตร แผ่นใบย่อยรูปหอก ยาว 4-7 เซนติเมตร กว้าง 1-2 เซนติเมตร ฐานใบรูปหัวใจ ปลายใบมนหรือแหลม ขอบใบหยักเว้าเป็นฟันปลา ผิวใบมีขนใส แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขนประปรายตามเส้นใบ ใบย่อยที่สร้างสปอร์อยู่กลางเถาขึ้นไป เถา มีรสจืดเย็น

 

เครื่องยา ลิเภา

 

เครื่องยา ลิเภา

 

ลิเภา

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ใช้ ทั้งเถา รสจืดเย็น ปรุงยาแก้พิษฝีภายใน ฝีภายนอก ขับเสมหะ ใช้เถาฝน พอกปิดแผลที่ถูกอสรพิษขบกัดต่อย เป็นยาถอนพิษ แก้ฟกบวมทำให้เย็น ใบ มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
           ยาพื้นบ้านล้านนา: ใช้ ต้น ใบ ผสมหัวยาข้าวเย็น ต้มน้ำดื่มต่างน้ำชา แก้ปวดเมื่อยในผู้สูงอายุ     
           ชาวเขาเผ่าอีก้อ แม้ว มูเซอ เย้า: ใช้ ราก ลำต้น เหง้า ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้เจ็บคอ เสียงแหบ ปวดหลัง ขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต เลือดตกใน ใบ ตำพอก แก้อักเสบจากงู ตะขาบ แมงป่อง และแมลงมีพิษกัดต่อย ป้องกันอาการปวดข้อ อาการแพลง โรคหิด ผื่นแดง บาดแผล ฝีฝักบัว และแผลพุพอง

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           สารสกัดทั้งต้นด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ทำให้หนูและกระต่ายแท้ง

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 0
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่