ส้มป่อย
ชื่อเครื่องยา | ส้มป่อย |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | ใบ ฝัก |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | ส้มป่อย |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | ส้มขอน |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Acacia concinna (Willd.) DC. |
ชื่อพ้อง | A. hooperiana Miq., A. philippinarium Benth., A. poilanei Gagnep., A. polycephala DC., A. quisumbingii Merr., A. rugata (Lam.) Merr., Guilandina microphylla DC., Mimosa concinna Willd. ,M. rugata Lam., Nygae sylvarum-minimae |
ชื่อวงศ์ | Leguminosae-Mimosoideae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
ใบประกอบแบบขนนก กิ่งก้านมีหนาม ใบย่อยรูปขอบขนาน ขนาดเล็ก ปลายและโคนมน ผลเป็นฝักรูปขอบขนาน แบน หนา ฝักแก่สีน้ำตาลดำ ผิวฝักเป็นคลื่น ย่นขรุขระมากเมื่อแห้ง ขอบเป็นคลื่น เมล็ดสีดำ รูปกลมรีถึงรูปกลมแบน ผิวมัน ใบมีรสเปรี้ยว ฝาดร้อนเล็กน้อย เปลือกฝักรสขมเปรี้ยว เผ็ดปร่า ฝักมีรสเปรี้ยว
เครื่องยา ฝักส้มป่อย
เครื่องยา ใบส้มป่อย
เครื่องยา ใบส้มป่อย
เครื่องยา ใบส้มป่อย
เครื่องยา ใบส้มป่อย
เครื่องยา ฝักส้มป่อย ที่วางขายในประเทศลาว
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: ใบ แก้โรคตา ชำระเมือกมันในลำไส้ ยาถ่ายเสมหะ ถ่ายระดูขาว แก้บิด ฟอกล้างโลหิตระดู ประคบให้เส้นเอ็นหย่อน ใบใช้ในสูตรยาอบสมุนไพร มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ช่วยชะล้างสิ่งสกปรก เพิ่มความต้านทานโรคให้กับผิวหนัง บำรุงผิวพรรณ แก้หวัด แก้ปวดเมื่อย สูตรยาลูกประคบสมุนไพร ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน ใบตำห่อผ้าประคบเส้นให้เส้นอ่อน ยากลางบ้านใช้ใบอ่อน ต้มเอาน้ำผสมกับน้ำผึ้ง กินเป็นยาขับปัสสาวะ ฝัก มีรสเปรี้ยว เป็นยาถ่าย ขับเสมหะ แก้ไอ แก้ไข้จับสั่น ฝักปิ้งให้เหลือง ชงน้ำจิบแก้ไอ ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว เป็นยาถ่ายทำให้อาเจียน ใช้สระผม ทำให้ผมชุ่มชื้นเป็นเงางาม ไม่มีรังแค ต้มน้ำอาบหลังคลอด ฝักตำพอกหรือชุบสำลีปิดแผลโรคผิวหนัง เปลือกฝัก รสขมเปรี้ยวเผ็ดปร่า เจริญอาหาร กัดเสมหะ แก้ไอ แก้ทรางเด็ก
นอกจากนี้บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) ปรากฏการใช้ใบและฝักส้มป่อย ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆในตำรับ เป็นยารักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร ตำรับ “ยาถ่ายดีเกลือฝรั่ง” ประกอบด้วย ดีเกลือฝรั่ง ยาดำ ใบมะกา ใบมะขาม ใบส้มป่อย ฝักคูน รากขี้กาแดง รากขี้กาขาว รากตองแตก ฝักส้มป่อย สมอไทย สมอดีงู เถาวัลย์เปรียง ขี้เหล็ก หัวหอม หญ้าไทร ใบไผ่ป่า สรรพคุณ แก้อาการท้องผูก กรณีที่ใช้ยาอื่นแล้วไม่ได้ผล
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ไม่มีข้อมูล
องค์ประกอบทางเคมี:
ฝักมีสารซาโปนิน 20.8% ได้แก่ acacinin A, B, C, D และ E ถ้าตีกับน้ำจะเกิดฟอง
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
สารสกัดแอลกอฮอล์จากใบและลำต้นของส้มป่อย แก่หนูถีบจักรกินในขนาด 10 กรัม/กิโลกรัม และเมื่อฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 10 กรัม/กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเกิดพิษ
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา :phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/