กลอย

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

กลอย

ชื่อเครื่องยา กลอย
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
ได้จาก เหง้าใต้ดิน
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา กลอย
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) มันกลอย กลอยข้าวเหนียว กลอยหัวเหนียว (นครราชสีมา) กลอยนก (เหนือ) กลอยไข่ (ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dioscorea hispida Dennst.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Dioscoreaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           ลำต้นกลมมีหนามเล็กๆกระจายทั่วไป และมีขนนุ่มๆ สีขาวปกคลุม มีรากเจริญเป็นหัวสะสมอาหารอยู่ใต้ดิน หัวใต้ดินส่วนมากกลมรี บางทีเป็นพู มีรากเล็กๆกระจายทั่วทั้งหัว มี 3-5 หัวต่อต้น เปลือกหัวบางสีน้ำตาลออกเหลือง เนื้อในหัวมี 2 ชนิดคือ สีขาว (กลอยหัวเหนียว) และสีครีม (กลอยไข่ กลอยเหลือง) หัวมีรสเมาเบื่อ

 

เครื่องยา หัวกลอย

 

เครื่องยา หัวกลอย

 

เครื่องยา หัวกลอย

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ใช้ หัวใต้ดิน แก้เถาดาน (อาการแข็งเป็นลำในท้อง) หุงเป็นน้ำมันใส่แผล กัดฝ้า กัดหนอง  ราก บดผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใบยาสูบ ใบลำโพงหรือพริก ใช้ทาหรือพอกฆ่าหนอนในแผลสัตว์เลี้ยง หัว ตากแห้ง ปรุงเป็นยาแก้น้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ แก้ปวดตามข้อ ฝีมะม่วง โรคซิฟิลิส  
           ตำรายาพื้นบ้านนครราชสีมา: ใช้ หัวใต้ดิน หั่นเป็นแผ่นบางๆปิดบริเวณที่มีอาการบวมอักเสบ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           เหง้ามีแป้งมาก พบสาร dioscin เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สเตียรอยด์ฮอร์โมนหลายชนิด, น้ำยางจากเหง้ามีสารพิษแอลคาลอยด์ dioscorine

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           หัวกลอยให้แป้งมาก ใช้รับประทานได้ แต่มีสารไดออสคอรีน ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางซึ่งอาจทำให้ถึงตายได้ ทำให้เมา คันคอ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก ตาพร่า ใจสั่น วิงเวียน มึนงง เนื่องจากกระตุ้นประสาทส่วนกลาง ต้องนำมาทำให้หมดพิษ โดยปอกเปลือกทิ้ง แล้วหั่นเป็นแผ่นบางๆ ใส่ชะลอมหรือตะกร้าแล้วนำไปแช่ทิ้งไว้ให้น้ำไหลผ่านหลายๆวัน เช่น น้ำทะเล น้ำตก น้ำห้วย สัก 2-3 วัน ล้างให้สะอาด หมดเมือก ไม่มียางสีขาว ตากแดดให้แห้ง จึงนึ่งรับประทานเป็นอาหารได้

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 25
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่