สะระแหน่

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

สะระแหน่

ชื่อเครื่องยา สะระแหน่
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
ได้จาก ทั้งต้น
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา สะระแหน่
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) สะระแหน่ต้น ต้นน้ำมันหม่อง (ไทย) หอมด่วน (พายัพ) สะแน่ (ใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mentha × cordifolia Opiz ex Fresen.
ชื่อพ้อง Mentha × villosa Huds., Mentha x amaurophylla Timb.-Lagr., M. x benthamiana Timb.-Lagr., Mentha × billotiana Déségl. & T.Durand, M. x bolzanensis Heinr.Braun, M. x chloreilema (Briq.) Heinr.Braun, M. x chlorostachya Gand. ex Heinr.Braun, M. x controversa Pérard ex Heinr.Braun, M. x dossiniana Déségl. & T.Durand, M. x dumortieri Déségl .& T.Durand, M. x emarginata Rchb., M. x floccida Déségl., M. x genevensis (T.Durand ex Déségl.) Déségl. & T.Durand, M. x gillotii Déségl. & T.Durand, M. x gratissima Weber, M. x incanescens Heinr. Braun, M. x lamarckii Ten., M. x lamyi Malinv., M. x latifrons Heinr.Braun, M. x longistachya Timb.-Lagr., M. x lycopifolia Gillot, M. x malyi Heinr.Braun, M. x moesiaca Borbás, M. x morrenii Déségl. & T.Durand, M. x mosoniensis Heinr.Braun, M. x nicholsoniana Strail, M. x niliacea Vahl, M. x nouletiana Timb.-Lagr., M. x pascuicola Déségl. & T.Durand, M. x pulverulenta Strail, M. x rhenana Topitz, M. x rigoi Heinr.Braun, M. x scotica R.A. Graham, M. x similis
ชื่อวงศ์ Lamiaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:

          ใบเดี่ยวรูปไข่ หรือรูปวงรีกว้าง ค่อนข้างกลม กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร ขอบใบจักฟันเลี่อย ผิวใบย่น เป็นร่องลึกตามแนวเส้นใบ คล้ายตาข่าย ใบมีกลิ่นหอมเฉพาะ ขยี้ใบดมจะมีกลิ่นฉุนคล้ายเมนทอล  

 

เครื่องยา สะระแหน่

 

เครื่องยา สะระแหน่

 

เครื่องยา สะระแหน่

 

 

สะระแหน่ (Mentha   ×   cordifolia Opiz ex Fresen.)

 

 

สะระแหน่ (Mentha × cordifolia Opiz ex Fresen.)

 

 

สะระแหน่ฝรั่ง   (Mentha × piperita L.)

 

 

 

 

สะระแหน่ฝรั่ง (Mentha × piperita L.)

 

 

สะระแหน่ญวณ (Mentha spicata L.)

 

 

สะระแหน่ญวณ (Mentha spicata L.)

 

 

สะระแหน่ญวณ (Mentha spicata L.)

 

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:-

         

สรรพคุณ:

          ตำรายาไทย  ใบรสหอมร้อนขับเหงี่อ แก้หืด แก้ปวดท้อง ขับลมในกระเพาะลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ ปวดท้อง แก้อาการเกร็งของกระเพาะอาหารและลำไส้ พอกหรือทา แก้ปวดบวม ผื่นคัน ฆ่าเชื้อโรค ทั้งต้นและใบ ขยี้ทาขมับ แก้ปวดศรีษะ ดมแก้ลม ยาชงจากใบใช้ดื่มเพื่อช่วยย่อยอาหาร ใบขยี้ทาภายนอกแก้พิษแมลงต่อย

          บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้สะระแหน่ทั้งต้น ในตำรับ “ยาเลือดงาม” มีส่วนประกอบของสะระแหน่ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:         -

 

องค์ประกอบทางเคมี:              

        มีองค์ประกอบหลักเป็นสารเมนทอล (menthol)

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

ฤทธิ์ลดความดันโลหิต

      ทดสอบฤทธิ์ของสารสกัดน้ำจากใบจากสะระแหน่ ในการการลดความดันโลหิตจากการเหนี่ยวนำด้วย NG-nitro-L-arginine methyl ester (L-NAME) โดยการป้อนหนูขาวเพศผู้สายพันธุ์ Sprague-Dawleyด้วย L-NAME ในน้ำดื่ม ในขนาด 50 mg/kg ต่อวัน เพื่อเหนี่ยวนำให้หนูมีความดันโลหิตสูง ร่วมกับการป้อนสารสกัดน้ำจากใบสะระแหน่ในขนาด 200 mg/kg ต่อวัน เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดจากสะระแหน่ สามารถลดค่าความดันโลหิตได้ร้อยละ 16.7 โดยมีค่าความดันโลหิต Diastolic*, systolic** และอัตราการเต้นของหัวใจ** ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (*p<0.001,  **p<0.05 เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับเฉพาะ L-NAME)  นอกจากนี้ยังทำให้ระดับสารมาลอนไดอัลดีไฮ ที่บ่งชี้การเกิดออกซิเดชันของไขมัน (lipid peroxidation) และอนุมูลอิสระ superoxide ที่เนื้อเยื่อหลอดเลือดลดลงในหนูที่มีความดันโลหิตสูง (Pakdeechote, et al., 2011)

ฤทธิ์บรรเทาอาการปวด

       ทดสอบฤทธิ์ลดอาการปวดของสารสกัดเฮกเซน และเอทิลอะซิเตตจากใบสะระแหน่ (Mentha cordifolia) โดยการให้กรดอะซีติกเหนี่ยวนำให้เกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าท้องหนูถีบจักร ด้วยวิธี writhing test ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดทั้งสองชนิดสามารถลดการเกิด writhing ในหนู ได้ร้อยละ  81.4 และ 71.0  ตามลำดับ จึงได้นำสารสกัดเฮกเซนซึ่งออกฤทธิ์ได้ดีกว่ามาแยกส่วนสกัดย่อยได้ทั้งสิ้น 10 ส่วนสกัด ผลการทดสอบฤทธิ์ชีวภาพพบว่าส่วนสกัดย่อย FB6 ในขนาด 0.25 mg/g มีฤทธิ์ลดปวดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สามารถลดการเกิด writhing ได้ร้อยละ  60.6 ผลการแยกส่วนสกัดย่อย FB6 ได้สารบริสุทธิ์  menthalactone เมื่อนำมาทดสอบด้วยวิธี writhing test ผลการศึกษาพบว่า menthalactone ในขนาด 0.1 mg/g และกรดมีเฟนามิค ซึ่งเป็นยามาตรฐาน ในขนาด 0.007 mg/g สามารถลดการเจ็บปวดที่เกิดจากการเหนี่ยวนำด้วยกรดอะซิติกได้ร้อยละ 67.3 และ 73.0 ตามลำดับ (Villaseñor and Sanchez, 2009)

ฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์

      ทดสอบฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ต่อยาเตตราซัยคลิน ด้วยวิธีไมโครนิวเคลียส  ของสารสกัดคลอโรฟอร์มจากสะระแหน่ โดยใช้หนูถีบจักรสายพันธุ์ Swiss Webster albino ใช้ยา tetracycline ฉีดเข้าช่องท้องหนูเพื่อกระตุ้นการก่อกลายพันธุ์ บันทึกผลจากจำนวนไมโครนิวเคลียสที่เกิดขึ้นภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดคลอโรฟอร์มจากสะระแหน่ สามารถยับยั้งการก่อกลายพันธุ์จากยาเตตราซัยคลินได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เท่ากับ 68.7%โดยมีค่าเฉลี่ยของการเกิดไมโครนิวเคลียส (MN) คือเซลล์ที่เป็นตัวบ่งชี้การเกิดความเสียหายต่อโครโมโซม ในเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ยังไม่โตเต็มที่ (PCE) แปลผลจากค่าเฉลี่ย MN-PCE per 1000 PCE พบว่าสารสกัดคลอโรฟอร์ม และยาเตตราซัยคลิน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.33±0.71 และ 7.44±0.54 ตามลำดับ เมื่อให้สารทดสอบในขนาด 0.01* และ 1.1 mg/20 g ตามลำดับ (*p<0.001 เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับเฉพาะยาเตตราซัยคลิน) นอกจากนี้ยังพบว่าสารสกัดคลอโรฟอร์มจากสะระแหน่ที่ใช้ทดสอบ ไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ เมื่อให้เดี่ยว ในขนาด 0.01 mg/20g (p<0.001) เนื่องจากมีค่าเฉลี่ย MN-PCE per 1000 PCE เท่ากับ 2.42±0.90 ซึ่งมีค่าน้อยกว่าเมื่อให้เฉพาะยา tetracycline ค่อนข้างมาก เมื่อแยกสารบริสุทธิ์จากสารสกัดคลอโรฟอร์มพบสารที่เป็นองค์ประกอบหลักคือ สาร 6,7-bis-(2,2-dimethoxyethene)-2,11-dimethoxy-2Z,4E,8E,10Z-dodecatetraendioic acid ซึ่งคาดว่าจะเป็นสารที่ออกฤทธิ์ในการต้านการก่อกลายพันธุ์ในการทดสอบครั้งนี้ (Villaseñor, et al., 2002)

 

การศึกษาทางคลินิก:                -

อาการไม่พึงประสงค์:               -

 

การศึกษาทางพิษวิทยา:           -

 

เอกสารอ้างอิง:

1. Pakdeechote P, Kukongviriyapan U, Berkban W, Prachaney P, Kukongviriyapan V, Nakmareong S. Mentha cordifolia extract inhibits the development of hypertension in L-NAME-induced hypertensive rats. Journal of Medicinal Plants Research. 2011; 5(7):1175-1183.

2. Villaseñor IM, Echegoyen DE, Angelada JS. A new antimutagen from Mentha cordifolia Opiz. Mutation Research. 2002; 515: 141-146.

3.  Villaseñor IM, Sanchez AC. Menthalactone, a new analgesic from Mentha cordifolia Opiz. Leaves. Z Naturforsch. 2009; 64: 809-812.

 

ข้อมูลตำรับยาเลือดงาม  : phar.ubu.ac.th/herb-thairemedy/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 50
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่