เลือดงาม

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

เลือดงาม

ชื่อสมุนไพร เลือดงาม
สูตรตำรับ

ในผงยา 102 กรัม ประกอบด้วย

1. เหง้าขิงแห้ง ตะไคร้บ้าน (ลำต้น) สะระแหน่ (ทั้งต้น) เหง้ากระชาย เหง้ากระทือ ผิวมะกรูด ใบมะนาว รากและใบกะเพรา หัวกระเทียม เปลือกเพกา โกฐจุฬาลัมพา ช้าพลู (ทั้งต้น) ลูกเร่วหอม ลูกจันทน์ ดอกกานพลู ดอกดีปลี เหง้าไพล พริกไทยล่อน รากเจตมูลเพลิงแดง รากชะเอมเทศ หนักสิ่งละ5 กรัม

2. พิมเสน การบูร หนักสิ่งละ1 กรัม

ข้อบ่งใช้

บรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้มุตกิด

ขนาดและวิธีใช้

ชนิดผง

รับประทานครั้งละ 1 – 2 กรัม ละลายน้ำสุก วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ชนิดแคปซูล

รับประทานครั้งละ 1 – 2 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ข้อห้ามใช้

ห้ามใช้ในหญิงตกเลือดหลังคลอด หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีไข้

ข้อควรระวัง

ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ ไต เนื่องจากอาจเกิดการสะสมของการบูร และเกิดพิษได้

อาการไม่พึงประสงค์

-

ข้อมูลเพิ่มเติม

-

องค์ประกอบทางเคมี

-

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

ฤทธิ์ต้านการอักเสบ

       การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยนำตำรับยาเลือดงาม และส่วนประกอบในตำรับมาสกัดโดยวิธีการหมักกับเอทานอล และการต้มน้ำ หลังจากนั้นนำสารสกัดทั้งหมดมาทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยใช้การทดสอบการยับยั้งการหลั่งไนตริกออกไซด์ในหลอดทดลอง ดูผลการยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ (NO) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งหลั่งจาก macrophage ของหนู (RAW 264.7 murine macrophage leukemia cell lines) โดยใช้ lipopolysaccharide (LPS จากเชื้อ Escherichia coli) เป็นสารกระตุ้น ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดชั้นเอทานอลของพริกไทย ขิง มะกรูด และตำรับยาเลือดงาม มีฤทธิ์ต้านการอักเสบโดยมีค่า IC50 เท่ากับ 1.31 ± 0.42, 2.87 ± 0.31, 3.03 ± 3.27 และ 28.18 ± 4.63 µg/ml ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน indomethacin มีค่า IC50 เท่ากับ 25.04 ±3.79 µg/ml  (Threrapanithan, et al., 2015)

      การทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดตำรับยาเลือดงาม โดยวิธีการยับยั้งการหลั่งไนตริกออกไซด์ (NO) และวิธีการยับยั้งการหลั่ง prostaglandin E2 (PGE2) ซึ่งเป็นสารที่เกี่ยวข้องในขบวนการอักเสบ ทดสอบในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ของหนูถีบจักร ที่ถูกกระตุ้นด้วย lipopolysaccharide ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเอทานอลของตำรับยาเลือดงามสามารถยับยั้งการหลั่ง NO และ PGE2โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 28.18±4.63 และ 8.59 ±0.89 µg/ml ตามลำดับ ขณะที่สารสกัดตำรับยาเลือดงามด้วยน้ำ และ 50% เอทานอล มีค่า IC50 มากกว่า 100 µg/ml ผลการทดสอบสมุนไพรเดี่ยวบางชนิดในตำรับ โดยคัดเลือกเฉพาะสมุนไพรที่มีการใช้บ่อยในการรักษาอาการปวดประจำเดือน และรักษามะเร็งปากมดลูกตามตำรายาไทย จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ขิง, กระชาย, กระทือ, พริกไทย และไพล ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดที่ออกฤทธิ์ดี 3 อันดับแรก ในการยับยั้ง PGE2ได้แก่ สารสกัดเอทานอลของพริกไทย, ขิง และไพล โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 1.20 ±0.05, 4.78± 1.60 และ 7.45± 0.01 µg/ml ตามลำดับ (สารมาตรฐานอินโดเมทาซิน มีค่า IC50 เท่ากับ 1.0±1.02 µg/ml) สารสกัดที่ออกฤทธิ์ดี 4 อันดับแรก ในการยับยั้ง NO ได้แก่ สารสกัดเอทานอลของพริกไทย, ขิง, กระชาย และไพล โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 1.31±0.42, 2.87±0.31, 4.92±1.43 และ 4.93± 0.42µg/ml ตามลำดับ (สารมาตรฐานอินโดเมทาซิน มีค่า IC50 เท่ากับ 25.04±3.79 µg/ml) (Jaiaree, et al., 2016)

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

       การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยนำตำรับยาเลือดงาม และส่วนประกอบในตำรับมาสกัดโดยการหมักด้วยเอทานอล และการต้มน้ำ หลังจากนั้นนำสารสกัดทั้งหมดมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในหลอดทดลองด้วยวิธีทางเคมี คือ DPPH radical scavenging assay พบว่าสารสกัดชั้นเอทานอลของกานพลู เพกา ขิง และตำรับยาเลือดงาม สามารถยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH โดยมีค่า EC50 เท่ากับ 9.20 ± 0.29, 9.94 ± 0.91, 14.34 ± 0.28 และ 48.80 3.95 µg/ml ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับสารมาตรฐาน butylated hydroxytoluene (BHT) มีค่า IC50 เท่ากับ 15.84 ± 1.42 µg/mlตามลำดับ (Threrapanithan, et al., 2015)

        ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าตำรับยาเลือดงาม และสมุนไพรที่เป็นส่วนประกอบในตำรับมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และต้านอนุมูลอิสระสูง จึงเป็นข้อมูลสนับสนุนการใช้ยาตำรับนี้ในการรักษาอาการปวดประจำเดือนได้  (Threrapanithan, et al., 2015)

ฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งปากมดลูก

       การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งปากมดลูกในหลอดทดลอง โดยนำตำรับยาเลือดงามมาสกัดด้วยเอทานอล และน้ำ แล้วนำสารสกัดมาทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งปากมดลูกที่แยกได้จากคน ทดสอบด้วยวิธีซัลโฟโรดามีนบี (sulforhodamine B assay) ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดตำรับยาเลือดงามด้วยเอทานอลสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งปากมดลูกได้ โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 75.31±4.37 µg/ml ขณะที่สารสกัดตำรับยาเลือดงามด้วยน้ำ และ 50% เอทานอล มีค่า IC50 มากกว่า 100 µg/ml ผลการทดสอบสมุนไพรเดี่ยวบางชนิดในตำรับ โดยคัดเลือกเฉพาะสมุนไพรที่มีการใช้บ่อยในการรักษาอาการปวดประจำเดือน และรักษามะเร็งปากมดลูกตามตำรายาไทย จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ขิง, กระชาย, กระทือ, พริกไทย และไพล ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดที่ออกฤทธิ์ดี 3 อันดับแรก ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งปากมดลูก ได้แก่ สารสกัดเอทานอลของกระทือ, กระชาย และพริกไทย โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 4.42±0.20, 24.45 ±4.73 และ 34.9± 1.22 µg/ml ตามลำดับ (Jaiaree, et al., 2016)

การศึกษาทางคลินิก

-

การศึกษาทางพิษวิทยา

-

เอกสารอ้างอิง

1. Jaiaree N, Itharat A. Ruangnoo S. Cytotoxic and anti-inflammatory activities of medicinal plants and women’s health remedy found in “Mahachotarat scripture” of Thai traditional medicine. J Med Assoc Thai. 2016; 99(Suppl.): S211-S221.

2. Threrapanithan C, Jaiaree N, Itharat A, Makchuchit S, Thongdeeying P, Panthong S. Anti-inflammatory and antioxidant activities of Thai traditional remedy called " Leard-ngam" and its plant ingredients. Thammasat Medical Journal. 2015; 15(3): 376-383.

 

 

ดูรายละเอียดของเครื่องยาในตำรับ

เหง้าขิงแห้ง

ลำต้นตะไคร้บ้าน

สะระแหน่ (ทั้งต้น)

เหง้ากระชาย

เหง้ากระทือ

ผิวมะกรูด

ใบมะนาว

รากและใบกะเพรา

หัวกระเทียม

เปลือกเพกา

โกฐจุฬาลัมพา

ช้าพลู (ทั้งต้น)

ลูกเร่วหอม

ลูกจันทน์

ดอกกานพลู

ดอกดีปลี

เหง้าไพล

พริกไทยล่อน

รากเจตมูลเพลิงแดง

รากชะเอมเทศ

พิมเสน

การบูร

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 32
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่