กล้วยตีบ
ชื่อเครื่องยา | กล้วยตีบ |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | ราก |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | กล้วยตีบ |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Musa ABB group (triploid) cv. ‘teep’ |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Musaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
รากมีรูปร่างกลมยาว สีน้ำตาลดำ รสฝาดเย็น มีเส้นใยมาก (กล้วยตีบเป็นกล้วยพันธุ์ลูกผสม ระหว่างกล้วยป่า (Musa acuminata Colla) มีจีโนม “A” และกล้วยตานี (Musa balbisiana Colla) มีจีโนม “B” โดยกล้วยตีบมีจีโนมของกล้วยป่า (A) ร้อยละ 33
หมายเหตุ : กล้วยตีบมีลักษณะคล้ายกล้วยตานี แต่ใบและผลเล็กกว่า ใบสั้นกว่ากล้วยตานี ในหนึ่งเครือมี 1-2 หวี ในหนึ่งหวีมี 7-8 ผล ผลเล็กกว่ากล้วยตานี ไม่นิยมปลูกไว้รับประทาน แต่ปลูกเพื่อใช้ทำยา
เครื่องยา รากกล้วยตีบ
เครื่องยา รากกล้วยตีบ
เครื่องยา รากกล้วยตีบ
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี: -
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย ราก มีรสฝาดเย็น แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ท้องร่วง แก้บิด แก้โรคปากเปื่อย แก้ไข้ แก้ปวดตามข้อ และกล้ามเนื้อ แก้อุจจาระเป็นมูกเลือด แก้พิษภายนอก ใบมวนยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก ต้มอาบแก้ผื่นคันตามผิวหนัง
พิกัดยาไทย: รากกล้วยตีบจัดอยู่ใน “พิกัดตรีอมฤต” ประกอบด้วยตัวยาสามอย่าง ได้แก่ รากกล้วยตีบ รากกระดอม และรากมะกอก ในปริมาณเท่ากัน มีสรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ระบุการใช้รากกล้วยตีบในตำรับ “ยาเหลืองปิดสมุทร” มีส่วนประกอบของรากกล้วยตีบร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ เช่น อุจจาระไม่เป็นมูก หรือมีเลือดปนและท้องเสียชนิดที่ไม่มีไข้
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา: -
องค์ประกอบทางเคมี:
รากพบสารกลุ่มแทนนิน
การศึกษาทางเภสัชวิทยา: -
การศึกษาทางคลินิก: -
อาการไม่พึงประสงค์: -
การศึกษาทางพิษวิทยา: -
ข้อมูลตำรับยาเหลืองปิดสมุทร : phar.ubu.ac.th/herb-thairemedy/