ข้าวเย็น

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ข้าวเย็น

ชื่อเครื่องยา ข้าวเย็น
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา หัวยาข้าวเย็น ข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นใต้
ได้จาก เหง้าใต้ดิน
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ข้าวเย็น
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) ยาหัวข้อ ข้าวเย็นโคกแดง ข้าวเย็นโคกขาว เขือง เข้าเย็นเหนือ เข้าเย็นใต้
ชื่อวิทยาศาสตร์ Smilax spp.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Smilacaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           หัวใต้ดินมีลักษณะยาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ยาวราว 10-15 เซนติเมตร ที่ผิวไม่เรียบ ผิวด้านนอกสีน้ำตาล หัวที่มีเนื้อสีแดงเข้ม เนื้อละเอียด มีรสมัน มักเกิดทางภาคเหนือและอีสาน เรียกว่าข้าวเย็นเหนือ อีกชนิดมักส่งมาจากเมืองแต้จิ๋ว หัวมีเนื้อสีขาว เรียกว่า ข้าวเย็นใต้ มีรสมันกร่อยหวานเล็กน้อย

 

เครื่องยา ข้าวเย็นเหนือ

 

เครื่องยา ข้าวเย็นเหนือ

 

เครื่องยา ข้าวเย็นเหนือ

 

เครื่องยา ข้าวเย็นเหนือ

 

เครื่องยา ข้าวเย็นเหนือ

 

เครื่องยา ข้าวเย็นใต้

 

เครื่องยา  ข้าวเย็นใต้

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล

สรรพคุณ:
               ตำรายาไทย: หัว แก้ประดง แก้มะเร็งคุดทะราด แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้น้ำเหลืองเสีย ฆ่าเชื้อหนอง แก้เส้นเอ็นพิการ แก้กามโรค เข้าข้อออกดอก เข้าข้อ ฝีแผลเน่าเปื่อยพุพอง ทำให้แผลฝียุบแห้ง แก้ประดง แก้เม็ดผื่นคัน ดับพิษในกระดูก แก้ปัสสาวะพิการ แก้อักเสบในร่างกาย นิยมใช้คู่กันทั้งข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ เรียกว่า ข้าวเย็นทั้งสอง
              ตำรายาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ใช้ หัว ต้มน้ำกิน เพื่อลดปวด สำหรับหญิงอยู่ไฟหลังคลอดบุตร ใช้หัวในยาตำรับ นำมาต้มน้ำดื่ม แก้มะเร็ง โดยบดยาหัวให้ละเอียด ผสมกับส้มโมง ต้มจนแห้ง แล้วผสมกับน้ำผึ้ง กินวันละ 1 เม็ด หัวต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงเลือด
             ในตำรายาพื้นบ้านมุกดาหาร และประเทศมาเลเซีย: ใช้ เหง้า เป็นยาบำรุง

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

 

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 47
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่