คูน
ชื่อเครื่องยา | คูน |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | เนื้อในฝักแก่ |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | เนื้อในฝักแก่ |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | ชัยพฤกษ์ ลมแล้ง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Cassia fistula L. |
ชื่อพ้อง | Bactyrilobium fistula Willd., Cassia bonplandiana DC., C. excelsa Kunth, C. fistuloides Collad., C. rhombifolia Roxb., Cathartocarpus excelsus G.Don, Cathartocarpus fistula Pers., Cathartocarpus fistuloides (Collad.) G.Don, Cathartocarpus rhombifolius |
ชื่อวงศ์ | Legumonosae-Caesalpiniaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
เนื้อในฝักแก่ มีเนื้อสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ เหนียว มีแผ่นสีน้ำตาลแบนกั้นระหว่างเมล็ด เนื้อมีรสหวาน เอียน
เครื่องยา คูน
เครื่องยา คูน
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ปริมาณความชื้นไม่เกิน 14% w/w ปริมาณสิ่งแปลกปลอมไม่เกิน 2% w/w ปริมาณเถ้ารวมไม่เกิน 4% w/w ปริมาณสารสกัดเอทานอล ไม่น้อยกว่า 66% w/w สารสกัดน้ำ ไม่น้อยกว่า 67% w/w
สรรพคุณ:
ตำรายาไทยใช้แก้พรรดึก(ท้องผูก) ระบายพิษไข้ เป็นยาระบายที่ไม่ปวดมวน หรือไซ้ท้อง ใช้ในเด็ก หรือผู้ที่ท้องผูกเรื้อรังได้ ช่วยบรรเทาอาการแน่นหน้าอก ฟกช้ำ แก้ไข้มาลาเรีย แก้บิด ถ่ายพยาธิ แก้ตานขโมย ถ่ายเสมหะ ใช้พอก แก้ปวดข้อ แก้ลมเข้าข้อและขัดข้อ
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
เนื้อในฝักแก่สีน้ำตาลดำ ประมาณ 2 หัวแม่มือ น้ำหนัก 4-5 กรัม ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย (อาจผสมกับน้ำมะขามเปียก หรือน้ำตาล) ดื่มครั้งเดียวหมด ก่อนนอนหรือเช้ามืดก่อนรับประทานอาหาร
องค์ประกอบทางเคมี:
เนื้อฝักมีสารแอนทราควิโนน อยู่หลายชนิด เช่น aloin , rhein, sennoside A, sennoside B, fistulic acid
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
ข้อควรระวัง:
การกินมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องอืด และปวดมวนท้อง มีฤทธิ์ระบายโดยการกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ จึงไม่ควรกินติดต่อกันนาน เพราะเมื่อไม่ได้รับยาจะทำให้ลำไส้ไม่ทำงานตามปกติ สตรีมีครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/