เจตพังคี
ชื่อเครื่องยา | เจตพังคี |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | |
ได้จาก | ราก |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | เจตพังคี |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | ใบหลังขาว (กลาง) เปล้าน้ำเงิน (ใต้) ตองตาพราน (สระบุรี); ตะเกีย เปล้าเงิน หนาดตะกั่ว (นครราชสีมา) มนเขา (สุราษฎร์ธานี) สมี (ประจวบคีรีขันธ์) ปานดง พังคี ปานดงเหลือง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Cladogynos orientalis Zipp.ex Span., Croton crassifolius Giesel. |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Euphorbiaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
รากเรียวและยาว เปลือกหุ้มรากเป็นเยื่อบางสีเหลืองเข้ม มีรสเผ็ด ขื่น เฝื่อนเล็กน้อย และมีกลิ่นหอม
เครื่องยา เจตพังคี
เครื่องยา เจตพังคี
เครื่องยา เจตพังคี
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย: ใช้ ราก แก้ท้องขึ้น ปวดแน่นท้อง หรือใช้ภายนอกโดยฝนกับน้ำปูนใส ผสมกับมหาหิงคุ์และการบูรทาท้องเด็กอ่อน ทำให้ผายลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวดท้อง ยาพื้นบ้านใช้ ทั้งต้น ต้มน้ำหรือทำเป็นผง หรือดองเหล้า กินแก้ลมจุกเสียด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ท้องร่วง ราก ผสมกับรากกำยาน ต้มน้ำดื่ม บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ หรือผสมกับไพล กะทือบ้าน กะทือป่า กระเทียม ขิง พริกไทย ดีปลี เจตมูลเพลิงแดง บดเป็นผง ละลายน้ำ เติมน้ำตาลทรายพอหวานดื่มเป็นยารักษาธาตุ เจริญอาหาร ขับลมที่คั่งในลำไส้ และกระเพาะอาหาร
หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ใช้ ราก ต้มน้ำดื่ม หรือฝนทา แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ในเด็ก หรือตำประคบ แก้ปวด
ตำรับยาสมุนไพรล้านนา: ปรากฏยารักษาอาการเลือดคั่ง หรือเกิดอาการกระสับกระส่าย ให้เอาหัวเป้งบก รากดับยาง เจตพังคี ในสัดส่วนเท่ากัน ตำเป็นผงใส่น้ำเย็น เอาเหล็กหล่อเผาให้ร้อนแดง แล้วโยนใส่น้ำยา แล้วนำมากิน
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ตำรายาสมุนไพรไทย-จีน ให้ใช้ รากแห้ง ครั้งละ 10-15 กรัม ต้มน้ำรับประทาน หรือบดเป็นผงชงน้ำรับประทาน ครั้งละ 1-2 กรัม
องค์ประกอบทางเคมี:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา :
phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/1
phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/2
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง :