ชะลูด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชะลูด

ชื่อเครื่องยา ชะลูด
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
ได้จาก เปลือกต้น
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา ชะลูด
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) ลูด(ปัตตานี) ชะนูด(สุราษฎร์ธานี) นูด(ภาคใต้), ขี้ตุ่น, ช้างตุ่น, ต้นธูป(อีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alyxia reinwardtii Blume var. lucida Markgr.
ชื่อพ้อง Alyxia nitens Kerr. หรืออาจได้จาก Alyxia schlechteri
ชื่อวงศ์ Apocynaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เป็นไม้เถา เนื้อแข็ง ขนาดเล็ก เปลือกค่อนข้างดำ เกลี้ยง มียางสีขาวขุ่น เถาที่เก็บมาแล้ว จะต้องทุบลอกเอาเปลือกสีดำข้างนอกทิ้ง ลอกเอาแต่เนื้อที่หุ้มแก่น แล้วผึ่งลมให้แห้ง เปลือกไม้จะม้วนเป็นแผ่นบางๆ มีสีขาว เถารสสุขุมหอม เปลือกเถาชั้นใน กลิ่นหอมมาก รสหอมเย็น

 

เครื่องยา ชะลูด

 

เครื่องยา ชะลูด

 

เครื่องยา ชะลูด

 

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:

           ไม่มีข้อมูล


สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: เปลือกเถา (ทุบเอาเปลือกชั้นนอกออกทิ้งไป ใช้เปลือกชั้นใน) ขับผายลม แก้ปวดในท้อง บำรุงกำลัง บำรุงดวงจิตให้ชุ่มชื่น ใช้อบผ้ามีสารหอมกลุ่มคูมาริน แก้ปวดมวนท้อง บำรุงหัวใจ บำรุงครรภ์รักษา แก้ดีพิการ แก้ไข้ แก้ปวดบวม  เถาปรุงยาแก้พิษในเลือดและน้ำเหลือง บำรุงกำลัง แก้ลมวิงเวียน แก้อ่อนเพลีย ใช้ผสมทำธูป
           บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5)    ปรากฏการใช้เปลือกชะลูด ในยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิต (แก้ลม) ในตำรับ”ยาหอมเทพจิตร” และตำรับ ”ยาหอมนวโกฐ” มีส่วนประกอบของเปลือกชะลูด ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณในการแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียน อาเจียน แก้ลมจุกแน่นในท้อง

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล

องค์ประกอบทางเคมี:
           เปลือกต้นมีสาร coumarin, alyxialactone, saponin, irridoid glycoside

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           คลายกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้ และมดลูก

การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดเปลือกด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 1,613 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ

 

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 29
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่