ตูมกา
ชื่อเครื่องยา | ตูมกา |
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา | โกฐกะกลิ้ง |
ได้จาก | เมล็ด |
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา | แสลงใจ |
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) | ตูมกาขาว ขี้กา (ตะวันออกเฉียงเหนือ) มะติ่ง มะติ่งต้น มะติ่งหมาก (เหนือ) แสงเบื่อ แสลงเบื่อ แสลงโทน แสลงทม ตูมกาต้น ตึ่ง ตึ่งต้น เม็ดกะจี้ กระดุมสุนัข ถั่วพิษ กระดุมผู้สั่น |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Strychnos nux-blanda A.W. Hill |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อวงศ์ | Strychnaceae |
ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
เมล็ดกลมแบนคล้ายกระดุม มี 4-15 เมล็ด ยาว 1.5-2.2 เซนติเมตร หนา 5-15 มิลลิเมตร มักพบด้านหนึ่งนูน อีกด้านหนึ่งเว้า หรือเว้าทั้ง 2 ด้าน ผิวนอกมีขนสีนวลเหลือบสีเทา ปกคลุมหนาแน่นคล้ายกำมะหยี่ ขนมักเอนไปทางเดียวกัน ขอบมักนูนหนาขึ้น ผิวด้านล่างเห็นขั้วเมล็ด คล้ายจุดนูนขึ้น เนื้อในแข็ง สีขาวแกมสีเหลืองอ่อน ไม่มีกลิ่น เมล็ดมีรสเมาเบื่อ ขมจัด เมล็ดมีพิษ ทำให้ตายได้
เครื่องยา โกฐกะกลิ้ง(ตูมกา)
เครื่องยา โกฐกะกลิ้ง(ตูมกา)
เครื่องยา โกฐกะกลิ้ง(ตูมกา)
ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
ไม่มีข้อมูล
สรรพคุณ:
ทุกส่วนของต้นมีพิษ เป็นยาอันตรายมาก ทำให้ถึงตายได้ การนำมาทำเป็นยาต้องฆ่าฤทธิ์ ตามกรรมวิธีในหลักเภสัชกรรมไทยเสียก่อน
ตำรายาไทย: เรียกเมล็ดแก่แห้งว่า “โกฐกะกลิ้ง” ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ ขับน้ำย่อย เมล็ด มีพิษมากต้องระมัดระวังในการใช้ ทางยา เมล็ดมีรสเมาเบื่อขมจัด บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจให้เต้นแรง แก้อัมพาต แก้อิดโรย แก้ไข้เจริญอาหาร ขับน้ำย่อย กระตุ้นประสาทส่วนกลาง บำรุงประสาท หูตาจมูก บำรุงเพศของบุรุษ บำรุงกล้ามเนื้อกระเพาะอาหาร ลำไส้ ให้แข็งแรง แก้โรคอันเกิดจากปากคอพิการ ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ แก้พิษงู พิษตะขาบแมลงป่อง แก้ลมกระเพื่อมในท้อง แก้คลื่นไส้ แก้ลมพานไส้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้โลหิตพิการ ทำให้ตัวเย็น แก้ลมคูถทวาร ขับลมในลำไส้ แก้หนองใน แก้ไตพิการ แก้เส้นตาย แก้เหน็บชา แก้เนื้อชา แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อย
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ห้ามประชาชนทั่วไปนำมาใช้เอง ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์ เนื่องจากมีพิษมาก
องค์ประกอบทางเคมี:
เมล็ดมีอัลคาลอยด์กลุ่มอินโดล ร้อยละ 1.8-5.3 สารสำคัญได้แก่ สตริกนีน (strychnine) ร้อยละ 1.3 และบรูซีน (brucine) ร้อยละ 1.55 นอกจากนี้ยังพบกรดคลอโรเจนิก โปรตีน และน้ำมันระเหยยากราวร้อยละ3 อัลคาลอยด์ strychnine เป็นสารมีพิษ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดความรู้สึกไวกว่าปกติ กลืนลำบาก กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ชักกระตุก เนื้อในผลสุก พบไกลโคไซด์ loganin ทำให้มีรสขม
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางคลินิก:
ไม่มีข้อมูล
การศึกษาทางพิษวิทยา:
ส่วนของเมล็ด ดอก ถ้ารับประทานเข้าไปทำให้กล้ามเนื้อกระตุก เกร็ง กลืนลำบาก ขาสั่น ชักอย่างแรง หัวใจเต้นแรง ขากรรไกรแข็งและตายได้ ในกรณีไม่ตายพบว่ามีไข้ ตัวชา กล้ามเนื้อเกร็ง หัวใจเต้นเร็ว และเหงื่อออกมากติดต่อกันหลายวัน ขนาดรับประทาน 60-90 มิลลิกรัม ทำให้ตายได้
ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา: phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/
ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/