กระแตไต่ไม้

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

กระแตไต่ไม้

ชื่อเครื่องยา กระแตไต่ไม้
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
ได้จาก เหง้า
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา กระแตไต่ไม้
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) ฮำฮอก (อุบลราชธานี); ใบหูช้าง สไบนาง (กาญจนบุรี); กูดขาฮอก กูดอ้อม กูดไม้ (เหนือ); กระปรอกว่าว (ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี),หัวว่าว (ประจวบคีรีขันธ์);หว่าว (ปน) สะโมง กาบหูช้าง หัวว่าว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Drynaria quercifolia (L.) J.Sm.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Polypodiaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
            ลำต้นยาวได้ถึง 1 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร เหง้าหัวกลม ยาว ปกคลุมด้วยเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม มีขนยาวสีน้ำตาลปกคลุมคล้ายกำมะหยี่  ขนอ่อนนุ่ม เนื้อในสีขาวและเขียว เหง้า มีรสจืด เบื่อ

 

เครื่องยา กระแตไต่ไม้

 

เครื่องยา กระแตไต่ไม้

 

เครื่องยา กระแตไต่ไม้

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล


สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: ใช้ เหง้า รสจืดเบื่อ เป็นยาสมานคุมธาตุ ขับปัสสาวะ ขับพยาธิ แก้ปัสสาวะพิการ (อาการปัสสาวะปวด หรือกะปริบกะปรอยหรือขุ่นข้น สีเหลืองเข้ม หรือมีเลือด) ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลือง หรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้) แก้นิ่ว แก้เบาหวาน แก้แผลพุพอง แผลเนื้อร้าย ขับระดูขาว หรือใช้เหง้าผสมกับลำต้นเอื้องเงิน 1 ต้น ต้ม น้ำดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 2-3 ครั้ง บำรุงเลือด
           หมอยาพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี: ใช้ รากและแก่น ต้มน้ำดื่ม และอาบ แก้ซาง เหง้า ต้มน้ำดื่ม แก้ประจำเดือนไหลไม่หยุด เหง้าฝนทา แก้งูสวัด เหง้าต้มน้ำดื่มหรือฝนกับน้ำดื่ม แก้ริดสีดวงจมูก แก้กระหายน้ำ เหง้านำมากินสด โดยใช้เนื้อสีขาว เอาขนออก ฝานตากแดด แล้วบด แก้ปวดประดงเลือด เหง้า ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มแก้ปวดเส้น เป็นยาห้ามเลือด
           ยาพื้นบ้านอีสาน: ใช้ เหง้า 3-4 เหง้า ผสมกับลำต้นเอื้องเงิน 1 ต้น ต้มน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 2-3 ครั้ง บำรุงเลือด
           หมอยาพื้นบ้านจังหวัดมุกดาหาร: ใช้ เหง้า แก้แผลฝี หนอง
           ยาพื้นบ้านล้านนา: ใช้ เหง้า ต้มน้ำดื่ม รักษามะเร็งในปอด ปอดพิการ ผสมหัวยาข้าวเย็น ต้มน้ำดื่ม แก้หอบหืด ขนจากเหง้า บดให้ละเอียด สูบแก้หืด ใบ ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำอาบ แก้บวม แก้ไข้สูง
           ชาวเขาเผ่าแม้ว: ใช้ ใบ ต้มน้ำดื่ม รักษาอาการไม่สบายและอ่อนเพลียของสตรีขณะอยู่ไฟหลังคลอด
           มาเลเซีย: ใช้ เหง้า นำมาพอกแก้ปวดบวม

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ไม่มีข้อมูล


องค์ประกอบทางเคมี:
           ไม่มีข้อมูล


การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล


การศึกษาทางคลินิก:
           ไม่มีข้อมูล


การศึกษาทางพิษวิทยา:
           ไม่มีข้อมูล

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา : phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 0
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่