น้อยหน่า

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

น้อยหน่า

ชื่อเครื่องยา น้อยหน่า
ชื่ออื่นๆของเครื่องยา
ได้จาก เมล็ดจากผลสุก
ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา น้อยหน่า
ชื่ออื่น (ของพืชที่ให้เครื่องยา) เตียบ น้อยแน่ มะนอแน่ มะแน่ มะออจ้า มะโอจ่า ลาหนัง หมักเขียบ ลาหนัง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Annona squamosa L.
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Annonaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:
           เมล็ดรูปไข่หรือรูปรี แข็ง สีดำ หรือน้ำตาลเข้ม เป็นมัน ขนาดกว้าง 3-6 มม. ยาว 1 ซม. ในผลหนึ่งมีประมาณ 50-60 เมล็ด เนื้อในเมล็ดสีขาว เมล็ดมีรสเมา มัน

 

เครื่องยา น้อยหน่า(เมล็ด)

 

เครื่องยา น้อยหน่า(เมล็ด)

 

เครื่องยา น้อยหน่า(เมล็ด)

 


ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:
           ไม่มีข้อมูล
 
สรรพคุณ:
           ตำรายาไทย: เมล็ด ตำผสมน้ำมันมะพร้าว ทาฆ่าพยาธิผิวหนัง ฆ่าเหา ฆ่าหิด  ฆ่าพยาธิตัวจี๊ด แก้บวม  รับประทานขับเสมหะ

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
           ใบสด  8-12  ใบ  หรือเมล็ดที่กะเทาะเปลือกแล้ว (บุบพอแตก เอาแต่เนื้อในเมล็ด) ประมาณ 10-20 เมล็ด  ตำให้ละเอียด  3-5  ช้อนชา  ผสมกับน้ำมันพืช เช่นน้ำมันมะพร้าว 6-10  ช้อนชา คั้นเอาเฉพาะน้ำมันมาชโลมให้ทั่วเส้นผม  ใช้ผ้าคลุมทิ้งไว้  1/2    ชั่วโมง  สระออกให้สะอาด  ทำวันละ  1  ครั้ง  ติดต่อกัน  2-3  วัน  ไข่และตัวเหาจะตาย
           การใช้ขนาดของสมุนไพร  ขึ้นอยู่กับผมยาวและผมสั้น  ถ้าผมยาวเพิ่ม  ถ้าผมสั้นลดจำนวนของสมุนไพรลงเล็กน้อย  สำหรับน้ำมันพืชก็เช่นเดียวกัน การชโลมน้ำยาบนเส้นผม  ระวังอย่าให้เข้าตา  เปลือกตา ริมฝีปาก รูจมูก เพราะจะทำให้ตาอักเสบ  และเกิดอาการแสบร้อน ถ้าเข้าตาให้รีบล้างออกด้วยน้ำสะอาดทันที และห้ามชโลมยาทิ้งไว้ข้ามคืน การสระน้ำยาสมุนไพรออก  ต้องสระให้สะอาดทุกครั้ง

องค์ประกอบทางเคมี:
           เมล็ดมีสาร  anonaine  alkaloid , isocorydine สารกลุ่ม acetogenin ชื่อ annonacin A

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
           สารสกัดจากเมล็ด แก้ปวดและบรรเทาอักเสบ ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา  ยับยั้งการฟักตัวของพยาธิปากขอ

การศึกษาทางคลินิก:
           ฆ่าเหา

การศึกษาทางพิษวิทยา:
           ระวังอย่าให้เข้าตา  เปลือกตา ริมฝีปาก รูจมูก เพราะจะทำให้ตาอักเสบ  และเกิดอาการแสบร้อน
           สารสกัดจากเมล็ดทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังมากกว่าจากใบ

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา: phar.ubu.ac.th/herb-phargarden/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 4
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่