ฐานข้อมูลพรรณไม้อ้างอิง

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Image

หนาดใหญ่

ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีกลิ่นหอมคล้ายการบูร สูง 1-4 เมตร ลำต้นกลม กิ่งก้านมีขนนุ่มยาว เปลือกต้นสีน้ำตาบเทา

อ่านเพิ่มเติม
Image

หญ้าหนูต้น

ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน สูง 30-60 เซนติเมตร ขึ้นเป็นกอขนาดเล็ก ใบเดี่ยวเรียงสลับ แตกเป็นกระจุกที่โคนต้น อยู่ในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานหรือรูปหอก กว้าง 1-4 เซนติเมตร ยาว 20-60 เซนติเมตร

อ่านเพิ่มเติม
Image

สารภีป่า

ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงถึง 25 เมตร ลำต้นคดงอ แตกกิ่งต่ำ เปลือกต้นเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นไม่เป็นระเบียบ อาจมีรอยแตกลึกเป็นลวดลายละเอียด บางครั้งเปลือกสีครีมค่อนข้างเรียบ

อ่านเพิ่มเติม
Image

สะบ้ามอญ

ไม้เถาเนื้อแข็งขนาดใหญ่ เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น สูง 10-20 เมตร แตกกิ่งก้านมาก ลำต้นมักคดงอหรือบิดเป็นเกลียว เปลือกนอกเรียบสีน้ำตาลแก่ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงตรงข้าม

อ่านเพิ่มเติม
Image

สะแกนา

ไม้ยืนต้น สูง 15-20 เมตร เปลือกต้นสีเทานวล กิ่งอ่อนเป็นสันสี่มุม ส่วนต่างๆของลำต้น มีขนเป็นเกล็ดกลม ต้นที่มีอายุมากบริเวณโคนลำต้น พบหนามแหลมยาว แข็ง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม

อ่านเพิ่มเติม
Image

ส้มลม

ไม้เถา เลื้อย ไม่มีมือเกาะ ลำต้นเรียบกลม ขนาดเล็กมีสีเขียว มีน้ำยางขาว กิ่งอ่อนมีขนละเอียด กิ่งแก่มีช่องอากาศกระจาย ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ รูปใบหอกหรือรูปวงรี

อ่านเพิ่มเติม
Image

ส้มโอมือ

ไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 2-4 เมตร เปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาล ตามลำต้นและกิ่งมีหนามสั้นแข็ง ใบเป็น ใบประกอบแบบลดรูป ใบย่อยมีใบเดียว ออกเรียงสลับ

อ่านเพิ่มเติม
Image

ส้มกุ้งขน

ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 3 เมตร กิ่งก้านมีขนปกปุย หนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-7.5 เซนติเมตร ยาว 7-21 เซนติเมตร หลังใบมีขนสั้นๆ ท้องใบมีขนที่ยาวและหนาแน่นกว่า

อ่านเพิ่มเติม
Image

ส้มกุ้ง

ไม้เถาเลื้อย มักเกาะพันต้นไม้อื่น ไม่ผลัดใบ มีมือเกาะออกตามข้อมักออกตรงข้ามกับใบ เถาเป็นปล้อง กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม เถาแก่สีน้ำตาลแดง มักมีร่องยาวตามแนวยาวของเถา

อ่านเพิ่มเติม
Image

สนทราย

ไม้พุ่ม สูงประมาณ 5 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก ลำต้นสีเทาอมน้ำตาล เนื้อไม้สีน้ำตาล แข็งแรงทนทาน กิ่งแตกเป็นเนื้อมีขนสีน้ำตาลแดง

อ่านเพิ่มเติม
Image

ว่านหอมแดง

พืชล้มลุก หัวใต้ดินรูปไข่ยาว เปลือกหุ้มหัวสีแดง ทรงกระสวย มีลักษณะคล้ายหัวหอม แต่ใบเกล็ดที่หุ้มหัวหนา แข็งกว่า มีสีแดงเข้มอมม่วง ลำต้นที่อยู่เหนือดินตั้งขึ้น โค้ง หรือเอนนอนแต่ปลายโค้งขึ้น

อ่านเพิ่มเติม
Image

ว่านพระฉิม

ไม้เถาล้มลุก เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น ลำต้นกลมเกลี้ยง เถาเลื้อยแบบหมุนเวียนซ้าย มีหัวอยู่ใต้ดินขนาดใหญ่ และเกิดหัวขนาดเล็กชนิด bulbil ที่ซอกใบ รูปทรงกลม ขนาดประมาณ 0.6-2.5 เซนติเมตร

อ่านเพิ่มเติม
Image

โลดทะนงแดง

ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงได้ถึง 1 เมตร มีรากเก็บสะสมอาหารพองโต ผิวสีแดงอมม่วง เนื้อสีขาว ลำต้นเรียวเล็ก ขึ้นเป็นกอ ทุกส่วนของต้นมีขน ลำต้นมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ใบเดี่ยว เรียงสลับ เนื้อใบหนา

อ่านเพิ่มเติม
Image

ลิเภา

เป็นเฟิร์นชนิดหนึ่ง เลื้อยพาดพันต้นไม้อื่นยาวหลายเมตร ลำต้นเป็นเหง้าสั้น มีขนสีน้ำตาลเข้มหนาแน่น

อ่านเพิ่มเติม
Image

ลำดวน

ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร เปลือกสีเทา ผิวเรียบ ทรงพุ่มรูปกรวยคว่ำ และแน่นทึบ ลำต้นตรง แตกกิ่งใบ จำนวนมาก เมื่อลำต้นแก่เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอมดำ มีรอยแตกตามแนวยาวลำต้น กิ่งอ่อนมีสีเขียวสด

อ่านเพิ่มเติม
Image

ราชดัด

ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 0.5-4 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ สีขาวปนเทา มีขนสีเหลืองปกคลุมหนาแน่น ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับเวียนรอบกิ่ง มีใบย่อย 5-13 ใบ

อ่านเพิ่มเติม
Image

รางจืด

เป็นไม้เถาล้มลุกเนื้อแข็งขนาดกลาง ลำต้นมีเนื้อไม้ เถาอ่อนสีเขียว กลม เป็นข้อปล้อง เถาแก่สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ รูปไข่ปลายเรียวแหลม ปลายใบแหลม หรือแหลมยาว

อ่านเพิ่มเติม
Image

รากสามสิบ

ไม้เลื้อย เนื้อแข็ง ลำต้นสีเขียว มีหนามแหลม มักเลื้อยพันตันไม้อื่น เลื้อยยาว 1.5-4 เมตร เถากลมเรียบ เถาอ่อนเป็นเหลี่ยม

อ่านเพิ่มเติม
Image

รัง

ไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 10 - 25 เมตร กิ่งก้านคดงอ เปลือกสีเทาหรือน้ำตาลอมเทา แข็ง และหนามาก

อ่านเพิ่มเติม
Image

ย่านางแดง

ไม้เถาเนื้อแข็ง พาดพันไปตามต้นไม้อื่น ยาวได้ถึง 5 เมตร เถาขนาดกลางๆมักแบนมีร่องตรงกลาง สีออกเทาน้ำตาล เถาแก่กลม สีน้ำตาลแดง มีมือพันสำหรับยึดเกาะ ออกเป็นคู่ ปลายม้วนงอ

อ่านเพิ่มเติม
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่