ฐานข้อมูลพรรณไม้อ้างอิง

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Image

ชิงชี่

ไม้พุ่มหรือกึ่งเลื้อย สูง 2-6 เมตร กิ่งก้านอ่อนมีสีเขียว ผิวเรียบเกลี้ยง กิ่งคดไปมา มีหนามยาว 2-4 มิลลิเมตร ตรงหรือโค้งเล็กน้อย ลำต้นสีเทา ผิวเปลือกเป็นกระสีขาว แตกระแหง ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ

อ่านเพิ่มเติม
Image

ช้าพลู

ไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มเตี้ย เป็นไม้พันอาศัย หรือเถาทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ปลายยอดตั้งขึ้น ลำต้นสีเขียวกลม มีข้อเป็นปม

อ่านเพิ่มเติม
Image

ชะเอมไทย

ไม้เถายืนต้นขนาดกลาง สูง 5-8 เมตร มีหนามตามลำต้นและกิ่งก้าน เปลือกนอกสีน้ำตาลอมเทา ใบเล็กละเอียดเป็นฝอย เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น

อ่านเพิ่มเติม
Image

ชะรักป่า

ไม้พุ่ม สูง 1-3 เมตร กิ่งอ่อน สันเป็นเหลี่ยม มีขนสีน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยว ออกรอบข้อ 3-4 ใบ ใบยาว 7-21 เซนติเมตร กว้าง 1.5-8 เซนติเมตร รูปขอบขนานหรือรูปหอกแกมรูปรี ฐานใบสอบเรียว ปลายใบแหลมหรือมน

อ่านเพิ่มเติม
Image

ชะมวง

ไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงกลาง สูง 15-30 เมตร ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มเป็นรูปกรวยคว่ำทรงสูง เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ด มีน้ำยางสีเหลือง ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปวงรีแกมใบหอกหรือรูปขอบขนาน

อ่านเพิ่มเติม
Image

เฉียงพร้านางแอ

ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 25-30 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นตั้งตรง เรือนยอดทรงพุ่มรูปกรวยกว้างทึบ เปลือกสีน้ำตาลอมแดงถึงน้ำตาลอมเทา

อ่านเพิ่มเติม
Image

เจตพังคี

ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 20-40 เซนติเมตร มีรากขนาดใหญ่ใต้ดิน เปลือกรากหลุดออกง่าย มีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมรูปหอก

อ่านเพิ่มเติม
Image

จางจืด

ไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูงถึง 3 เมตร ลำต้นตั้งตรง สีเขียวอ่อน มีสันนูนตามยาว 5-6 สัน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปช้อนแกมรูปไข่กลับ

อ่านเพิ่มเติม
Image

จันทน์แดง

ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นสูง 1.5-4 เมตร ต้นโตเต็มที่อาจสูงถึง 17 เมตร ลำต้นตรงไม่แตกกิ่ง มีเรือนยอดได้ถึง 100 ยอด มีกิ่งก้านมาก เปลือกเกลี้ยงสีเทานวล อาจแตกสาขาออกจากลำต้นใหญ่ได้ มีรอยแผลของใบกลมๆติดๆกัน ตลอดลำต้น ใบเดี่ยว เรียงสลับถี่ที่ปลายยอด รูปใบแคบเรียวยาว ปลายแหลม

อ่านเพิ่มเติม
Image

จอง

ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงถึง 45 เมตร ใบเดี่ยว เรียงแบบสลับ ใบมีหลายรูปร่าง เช่น รูปร่างคล้ายรูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปไข่แกมใบหอก ปลายเรียวแหลม โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อยเป็นรูปหัวใจ

อ่านเพิ่มเติม
Image

เงาะป่า

ไม้เถาเนื้อแข็ง ยาว 10 - 20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนยาวรูปดาว สีน้ำตาลขึ้นหนาแน่น เปลือกลำต้นสีดำ แตกเป็นร่อง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน รูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปใบหอกกลับ

อ่านเพิ่มเติม
Image

งวงสุ่ม

ไม้เถาเนื้อแข็ง ขนาดใหญ่ สูง 1-5 เมตร เปลือกสีน้ำตาลมีขนปกคลุ่ม กิ่งอ่อนมีขน ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือกึ่งตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรี

อ่านเพิ่มเติม
Image

โคคลาน

ไม้พุ่มรอเลื้อย เนื้อแข็ง สูง 3-6 เมตร ตามกิ่งก้านและช่อดอกมีขนนุ่มรูปดาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่แกมรูปสามเหลี่ยม รูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปไข่กว้าง

อ่านเพิ่มเติม
Image

แคนา

ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงได้ถึง 10-20 เมตร ผลัดใบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อนอมเทา อาจมีจุดดำประ

อ่านเพิ่มเติม
Image

เครือหมาน้อย

เป็นไม้เถาเลื้อย เนื้อไม้แข็ง มีขนนุ่มสั้นปกคลุมหนาแน่นตามเถา กิ่ง ช่อดอก และใบ ไม่มีมือเกาะ มีรากสะสมอาหารใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว มีหลายรูป เช่น รูปหัวใจ รูปกลม รูปไต หรือรูปไข่กว้าง ก้นใบปิด ออกแบบสลับ

อ่านเพิ่มเติม
Image

เครือประสงค์

ไม้เถา เลื้อยพันเกาะต้นไม้อื่น ลำต้นขนาดเล็ก สูง 1-7 เมตร แตกกิ่งก้านมาก ลำต้นมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดง ตามกิ่งก้านและปลายยอดมีขนนุ่มสีน้ำตาลแดงหนาแน่น มีน้ำยางมากสีขาวข้น ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปไข่แกมขอบขนาน หรือรูปใบหอกกลับ

อ่านเพิ่มเติม
Image

คูน

ไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง 10-15 เมตร เปลือกต้นเกลี้ยง สีขาวอมเทา แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม ใบเป็นประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคู่ ออกเรียงสลับ ใบย่อย 3-8 คู่ เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมขอบขนาน

อ่านเพิ่มเติม
Image

คำมอกหลวง

ไม้ยืนต้น ผลัดใบในช่วงสั้นๆ ก่อนออกดอก สูง 7-15 เมตร ทรงพุ่มกลมและโปร่ง แตกกิ่งน้อย กิ่งอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยม

อ่านเพิ่มเติม
Image

คัดเค้าเครือ

ไม้รอเลื้อยเนื้อแข็ง หรือไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 3-6 เมตร เนื้อไม้เหนียวมาก มีหนามแหลม ยาว 1 เซนติเมตร ปลายโค้งแข็งเป็นคู่ตามข้อและโคนใบ เปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ปลายกิ่งก้านมีสีเขียว ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม เนื้อใบหนาแข็ง แผ่นใบเรียบ หลังใบผิวใบเรียบเป็นมัน

อ่านเพิ่มเติม
Image

คนทีสอ

ไม้พุ่ม ขนาดกลาง สูงประมาณ 3-6 เมตร ทั้งต้นมีกลิ่นหอม เปลือกลำต้นเรียบ สีเทา เป็นกระสีดำ แตกเป็นร่องตื้นตามยาว ใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกตรงกันข้าม ใบย่อยรูปไข่ปลายแหลม 3 ใบ

อ่านเพิ่มเติม
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่