ยางกราด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ยางกราด

ชื่อสมุนไพร ยางกราด
ชื่ออื่นๆ กาด ยางสะแบง (นครราชสีมา) กราด ซาด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ชะแบง ตะแบง สะแบง ตรายด์ กร้าย (สุรินทร์) ยางกราด (สระบุรี) ลาง (ชลบุรี) เหียงกราด (ราชบุรี เพชรบุรี) เหียงน้ำมัน (ราชบุรี) เหือง (ระยอง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dipterocarpus intricatus Dyer
ชื่อพ้อง
ชื่อวงศ์ Dipterocarpaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
              ไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-30 เมตร ลำต้นเปลาตรง กิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มกลม ทึบ เปลือกต้นหนาสีน้ำตาลปนเทา เปลือกหนาแตกเป็นร่องลึกตามยาว  ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 10-15 เซนติเมตร ยาว 20-35 เซนติเมตร โคนใบรูปหัวใจ ปลายใบมน ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนา ผิวใบด้านบนและด้านล่างมีขนหยาบและสาก ใบอ่อนและยอดอ่อนมีหูใบสีแดงหุ้ม ก้านใบยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกบิดเวียนรูปกังหัน สีขาวแซมสีชมพูเป็นแถบตรงกลางแต่ละกลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีครีบขยุกขยิกย่นตามยาว 5 ครีบ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก อัดแน่นรอบรังไข่ อับเรณูสีเหลือง รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปรี ปลายเกสรเพศเมียเรียวแหลม ผลแห้งรูปร่างค่อนข้างกลม แข็ง ถูกปิดด้วยครีบบางๆสีแดงเป็นจีบ หักพับไปมาเป็นชั้นตามความยาวผล มีปีกผล 5 ปีก สีแดงสด ปีกยาว 2 ปีก ยาว 8-10 เซนติเมตร ปีกสั้น 3 ปีก เมล็ดแข็ง ออกดอกเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ติดผลเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 200-500 เมตร

 

ลักษณะวิสัย

 

ลำต้น

 

ใบ

 

ใบ

 

กิ่ง ก้านใบ

 

ดอกอ่อน

 

ดอก

 

ดอก และ ดอกติดผล

 

ดอก และ ดอกติดผล

 

ดอก

 

ดอก

 

ดอก

 

ผล

 

ผล

 

ผล

 

ผล


สรรพคุณ    
               ตำรายาไทย เปลือก  น้ำต้มเปลือกใช้ทาถูนวด แก้ปวดข้อ ยางไม้  ใส่แผล รักษาแผล และโรคเรื้อน กินแก้โรคหนองใน ใช้ยาเครื่องจักสาน ทาไม้ อุดเรื่อรั่ว  และผสมขี้เลื่อยจุดไฟ หรือทำไต้ ผล ใช้ทำเครื่องประดับ ดอกอ่อน รับประทานสดกับน้ำพริก ใบ ใช้มุงเถียงนา หลังคายุ้งฉาง

 

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง               : phar.ubu.ac.th/herb-thaiherbarium/

ข้อมูลเครื่องยา  (ชันย้อย)          : phar.ubu.ac.th/herb-thaicrudedrug/

ข้อมูลตำรับยาเหลืองปิดสมุทร  : phar.ubu.ac.th/herb-thairemedy/

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 0
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่