ตรีเกสรมาศ

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ตรีเกสรมาศ

ชื่อสมุนไพร ตรีเกสรมาศ
สูตรตำรับ

ในผงยา 90 กรัม ประกอบด้วย

เปลือกฝิ่นต้น เกสรบัวหลวง ลูกมะตูมอ่อน หนักสิ่งละ 30 กรัม

ข้อบ่งใช้

แก้อ่อนเพลีย ปรับธาตุในผู้ป่วยที่เพิ่งฟื้นจากการเจ็บป่วย เช่น ไข้ ท้องเสีย

ขนาดและวิธีใช้

รับประทานครั้งละ 1 กรัม ชงน้ำร้อน ประมาณ 120 - 200 มิลลิลิตร ดื่มขณะยายังอุ่น วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร และก่อนนอน

ข้อห้ามใช้

-

ข้อควรระวัง

- ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน1 เดือน

- หากใช้เกินจากขนาดที่แนะนำ อาจจะทำให้ท้องผูก

- ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสรดอกไม้

อาการไม่พึงประสงค์

-

ข้อมูลเพิ่มเติม

-

องค์ประกอบทางเคมี

-

การศึกษาทางเภสัชวิทยา

ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านการแพ้

       การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านการแพ้ ของสารสกัดเอทานอล และน้ำของตำรับยาตรีเกสรมาศ ผลการทดสอบพบว่า สารสกัดเอทานอล และน้ำของตำรับยาตรีเกสรมาศมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีมาก โดยมีค่าการยับยั้งอนุมูลอิสระ DPPH (2,2-diphenyl-1-picrylhdrazyl)   ได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) เท่ากับ 3.861±0.109 และ 15.997±3.60 µg/mlตามลำดับ ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม เท่ากับ 300.236±2.226 และ 184.915±4.328 mg GAE/g ตามลำดับ ในการทดสอบฤทธิ์ต้านการแพ้ พบว่าสารสกัดเอทานอลออกฤทธิ์แรง โดยมีฤทธิ์ต้านการแพ้เมื่อใช้สารสกัดขนาด 93.807±0.831 µg/ml แต่สารสกัดน้ำไม่ออกฤทธิ์

     โดยสรุปตำรับยาตรีเกสรมาศมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ต้านการแพ้ ผลการศึกษาที่ได้มีความสัมพันธ์กับการแพทย์พื้นบ้านที่ระบุว่ายาตรีเกสรมาศมีสรรพคุณในการบำรุงธาตุเพื่อปรับสมดุลร่างกาย (Phuaklee and Itharat, 2015)

ฤทธิ์ต้านเอนไซม์อะซิทิลคอลินเอสเตอเรส (anti-acetylcholinesterase)

        การทดสอบฤทธิ์ต้านacetylcholinesterase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำลายสารสื่อประสาท acethylcholine ในสมอง ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ และความจำ การยับยั้งเอนไซม์นี้ จึงเป็นเป้าหมายในการรักษาโรคความจำเสื่อมอัลไซเมอร์ ทดสอบโดยใช้สารสกัดเอทานอลของตำรับยาตรีเกสรมาศ ทำการศึกษาในหลอดทดลอง ตรวจสอบโดยใช้วิธี microplate assay ตาม Ellman methodรายงานผลในหน่วยร้อยละของการยับยั้งเอนไซม์อะซิทิลคอลินเอสเตอเรส  ใช้ galantamineซึ่งเป็นยารักษาโรคอัลไซเมอร์ เป็นสารมาตรฐาน ผลการทดสอบพบว่าตำรับยาตรีเกสรมาศมีฤทธิ์ต้านเอนไซม์อะซิทิลคอลินเอสเตอเรสได้ในระดับต่ำ โดยพิกัดยาตรีเกสรมาศมีค่าการยับยั้งอยู่ที่ 22.22±1.26% (สารมาตรฐาน galantamineที่มีค่าการยับยั้งเท่ากับ 96.60±0.45%) (Phromswat, et al., 2012)

การศึกษาทางคลินิก

-

การศึกษาทางพิษวิทยา

-

เอกสารอ้างอิง

1. Phromswat D, Mahawijit N, Nilborworn P, Dej-adisai S. Anti-Acetylcholinesterase Activity of Traditional Thai Herbal Combination Medicines. ThaksinJ. 2012;15(2):34-43.

2. Phuaklee P, Itharat A. Biological activities and total phenolic content of tregaysornmas formula. Planta Med. 2015; 81(11): PE4.

 

 

ดูรายละเอียดของเครื่องยาในตำรับ

เปลือกฝิ่นต้น

เกสรบัวหลวง

ลูกมะตูมอ่อน

จำนวนครั้งที่มีการอ้างอิงหน้าเว็บไซต์นี้: 12
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่