ฐานข้อมูลเครื่องยาไทย

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Image

ตะไคร้หอม

ลำต้นเป็นข้อๆ ใบรูปขอบขนานปลายแหลม ใบยาวกว่าตะไคร้บ้าน ลักษณะของใบกว้าง 5-20 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร แผ่นใบแคบ ยาว และนิ่มกว่าตะไคร้บ้าน

อ่านเพิ่มเติม
Image

ตะไคร้แกง

ลำต้นรูปทรงกระบอก แข็ง เกลี้ยง ตามปล้องมักมีไขปกคุลม เหง้า มีข้อและปล้องสั้นมาก กาบใบสีขาวนวล หรือสีขาวปนม่วง

อ่านเพิ่มเติม
Image

โด่ไม่รู้ล้ม

ใบมีขนสีขาวตรงละเอียด ตรง ห่าง สาก ทอดขนานกับผิวใบ ทั้งสองด้าน ท้องใบมีขนมากกว่าหลังใบใบรูปหอกกลับ หรือรูปไข่แกมใบหอกกลับ แผ่นใบยาว 8-20 เซนติเมตร กว้าง 3-5 เซนติเมตร

อ่านเพิ่มเติม
Image

ดีปลี

ผลแห้งสีน้ำตาลแดง ผลอัดกันแน่นเป็นช่อรูปทรงกระบอก โคนโต ปลายเล็กมน ขนาดยาวประมาณ 2.5-7.5 เซนติเมตร

อ่านเพิ่มเติม
Image

ดีบัว

ดีบัวมีรูปร่างคล้ายสาก ยาว 1-1.5 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 มิลลิเมตร มีใบอ่อน 2 ใบ ใบหนึ่งสั้น อีกใบหนึ่งยาว สีเขียวเข้ม หรือสีเขียวอมเหลือง ปลายใบม้วนเป็นรูปคล้ายลูกศร ต้นอ่อนตรง

อ่านเพิ่มเติม
Image

ดองดึง

ลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าขนาดเล็กอยู่ใต้ดิน รูปร่างกลมเรียว มีหงอนเหมือนขวาน มีรสร้อนเมา

อ่านเพิ่มเติม
Image

ดอกจันทน์

ดอกจันทน์ (mace) คือส่วนเยื่อหุ้มเมล็ด ลักษณะเป็นริ้วสีแดงจัด ดูเหมือนร่างแห เป็นแผ่นบางมีหลายแฉกหุ้มเมล็ด

อ่านเพิ่มเติม
Image

ชุมเห็ดไทย

ใน1 ฝัก มีประมาณ 20-30 เมล็ด เมล็ดผิวเรียบ เงาเป็นมัน ผิวเมล็ดสีน้ำตาลเหลือง เมล็ดแข็ง แบน หน้าตัดเฉียงเป็นรูปร่างสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

อ่านเพิ่มเติม
Image

ชุมเห็ดเทศ

ใบรูปวงรีแกมขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 6-15 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบมน ฐานใบไม่เท่ากันทั้ง 2 ด้าน ขอบใบเรียบ ใบค่อนข้างหนา หยาบและเหนียว

อ่านเพิ่มเติม
Image

ชะเอมไทย

เถา มีตุ่มหนามด้านๆขนาดเล็กตามลำต้นและกิ่งก้าน เปลือกไม้ผิวขรุขระสีน้ำตาล เนื้อไม้สีเหลืองอ่อนๆ มีรสหวาน

อ่านเพิ่มเติม
Image

ชะลูด

เป็นไม้เถา เนื้อแข็ง ขนาดเล็ก เปลือกค่อนข้างดำ เกลี้ยง มียางสีขาวขุ่น เถาที่เก็บมาแล้ว จะต้องทุบลอกเอาเปลือกสีดำข้างนอกทิ้ง ลอกเอาแต่เนื้อที่หุ้มแก่น แล้วผึ่งลมให้แห้ง เปลือกไม้จะม้วนเป็นแผ่นบางๆ มีสีขาว

อ่านเพิ่มเติม
Image

เจตพังคี

รากเรียวและยาว เปลือกหุ้มรากเป็นเยื่อบางสีเหลืองเข้ม มีรสเผ็ด ขื่น เฝื่อนเล็กน้อย และมีกลิ่นหอม

อ่านเพิ่มเติม
Image

จันทน์แดง

แก่น ที่มีเชื้อราลง จนทำให้แก่นมีสีน้ำตาลแดงและมีกลิ่นหอม มีรสขมเย็น ฝาดเล็กน้อย

อ่านเพิ่มเติม
Image

จันทน์ขาว

เนื้อไม้และแก่น มีสีออกน้ำตาลอ่อน หรือออกขาวนวล มีรสขม หวาน หรือรสขมเย็นระคนกัน

อ่านเพิ่มเติม
Image

จอง

ผลเป็นผลแห้งรูปกระสวย เมล็ดรีสีน้ำตาลขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร เมล็ดติดอยู่ด้านล่างของปีก คล้ายลูกสมอแห้ง เปลือกบาง ผลแก่ ที่เปลือกเมล็ดชั้นนอกมีสารเมือกจำนวนมาก

อ่านเพิ่มเติม
Image

งิ้ว

ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีดำ มีหนามตามแข็งขนาดใหญ่ ตามลำต้นและกิ่งก้าน เนื้อไม้ภายในมีสีเนื้ออ่อนเปราะหักง่าย เป็นเส้นใยที่อ่อนไม่แข็ง

อ่านเพิ่มเติม
Image

งา

เมล็ดแบน รูปไข่ สีดำ (งาดำ) และนวล (งาขาว) ผิวเป็นมัน เนื้อชุ่มน้ำมัน น้ำมันจากเมล็ดมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน เมล็ดรสฝาด หวาน ขม น้ำมัน รสฝาดร้อน

อ่านเพิ่มเติม
Image

โคคลาน

เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น ยาว 3-6 เมตร ลำต้นเป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกนอกสีน้ำตาลเข้ม เนื้อในสีน้ำตาลอ่อน เถามีรสขมเบื่อเย็น เปลือกเถารสเฝื่อน ไม่มีกลิ่น

อ่านเพิ่มเติม
Image

คูน

เนื้อในฝักแก่ มีเนื้อสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ เหนียว มีแผ่นสีน้ำตาลแบนกั้นระหว่างเมล็ด เนื้อมีรสหวาน เอียน

อ่านเพิ่มเติม
Image

คำฝอย

ดอกช่อ มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร กลีบดอกเป็นกระจุก กลีบสีแดงเข้ม ดอกและเกสรมีรสหวานร้อน

อ่านเพิ่มเติม
เกี่ยวกับระบบ:

ระบบนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก ระบบฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐาน โดยผู้พัฒนาได้ดำเนินการสร้างหน้า UX/UI ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อให้เป็นรูปแบบเดียวกันกับเว็บไซต์ของคณะเภสัชศาสตร์ มอบ. แต่ยังคงใช้ฐานข้อมูล Database ของฐานข้อมูลสมุนไพรทั้ง 4 ฐานเดิมอยู่