นโยบายงานวิจัย
นโยบายงานวิจัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- กำหนดกรอบและทิศทางการวิจัย เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของคณะเภสัชศาสตร์ ที่สอดคล้องกับนโยบายการวิจัยของชาติ และตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและ ประเทศเพื่อเป็นผู้นำด้านการวิจัยในประชาคมอาเซียน
- ส่งเสริมและสนับสนุนนักวิจัยให้มีทักษะในการทำวิจัย และคุณธรรม จริยธรรมการวิจัย เพื่อให้สามารถสร้างผลงานวิจัยให้เป็นที่ยอมรับในระดับมาตรฐานสากล
- ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายการวิจัย ในระดับชุมชน ชาติ และนานาชาติ ทั้งในภาครัฐและเอกชน
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย และนำประโยชน์จากผลงานวิจัยไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการพัฒนาการเรียนการสอน และการประยุกต์ผลงานวิจัยสู่อุตสาหกรรมและการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
แผนการดำเนินงานในระยะที่ 1 (พ.ศ. 2555-2559)
- ส่งเสริมการจัดกลุ่มงานวิจัยตามสาขาความชำนาญของนักวิจัย ความพร้อมของครุภัณฑ์และปัจจัยเอื้อทางด้านภูมิศาสตร์
- ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์วิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญตามกลุ่มสาขาความชำนาญ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพื่อแก้ไขปัญหาในงานประจำ
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
- สนับสนุนทรัพยากรและพัฒนาศักยภาพนักวิจัยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
- สนับสนุนทุนวิจัย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งทุนวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระเบียบและขั้นตอนการเสนอโครงการวิจัย และประสานงานกับหน่วยงานภายนอก เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้รับทุนวิจัย
- สนับสนุน ยกย่องเชิดชูเกียรตินักวิจัยที่มีผลงานดีเด่น หรือได้รับรางวัล
- สร้างเครือข่ายการวิจัยทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
- จัดทำฐานข้อมูลด้านการทำวิจัยและผลงานวิจัยของคณาจารย์และนักวิจัย รวบรวมผลงานวิจัยที่ได้ทำเสร็จสมบูรณ์แล้วเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยให้แก่ภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบุคคลทั่วไป
คณะกรรมการพัฒนาระบบงานวิจัย
1. ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ จึงวัฒนตระกูล ประธานกรรมการ
2. รศ.ดร.ระวิวรรณ แก้วอมตวงศ์ กรรมการ
3. ผศ.ดร.ปรีชา บุญจูง กรรมการ
4. ผศ.ดร.ปาจารีย์ ทองงอก กรรมการ
5. ดร.เพียงเพ็ญ ธิโสดา กรรมการ
6. ดร.สุทธาสินี สุวรรณกุล กรรมการ
7. ดร.รจเรจ เนตรทอง กรรมการ
8. ผศ.ดร.นิภาพร เมืองจันทร์ กรรมการและเลขานุการ
9. นายวุฒิพงศ์ จันทร์พันธ์ ผู้ช่วยเลขานุการ
จรรยาบรรณนักวิจัย
คำนำ
คณะกรรมพัฒนาระบบงานวิจัย คณะเภสัชศาสตร์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนานักวิจัยทั้งทางด้านความรู้ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ เนื่องจากประเทศชาติจะพัฒนาได้อย่างยั่งยืน หากคนไทยทุกคนมีความทั้งความรู้และคุณธรรม อันจักก่อให้เกิดความสามัคคี ลดความแตกแยก ดังนั้นคณะกรรมการพัฒนาระบบงานวิจัยคณะเภสัชศาสตร์ จึงได้นำเนื้อหาจรรยาบรรณนักวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติมาเผยแพร่ให้คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาได้รับทราบ และปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว
จรรยาบรรณนักวิจัย
ความเป็นมา
ปัจจุบันนี้ผลการวิจัยมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างยิ่ง หากงานวิจัยที่ปรากฏสู่สาธารณชน มีความเที่ยงตรง นำเสนอสิ่งที่เป็นความจริงสะท้อนให้เห็นสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ก็จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ การที่จะให้ได้มาซึ่งงานวิจัยที่ดีมีคุณภาพ จำเป็นต้องมีส่วนประกอบสำคัญหลายประการ นอกจากการดำเนินตามระเบียบวิธีการวิจัยอย่างมีคุณภาพแล้ว คุณธรรมหรือจรรยาบรรณของนักวิจัยเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งประการหนึ่ง
คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยาตระหนักถึงความสำคัญของ จรรยาบรรณนักวิจัยดังกล่าว จึงได้ริเริ่มดำเนินการยกร่างจรรยาบรรณนักวิจัยเพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งประเทศ เพื่อให้นักวิจัย นักวิชาการ ในสาขาวิชาการต่างๆ สามารถนำไปปฏิบัติ โดยผ่านกระบวนการขอรับความคิดเห็นจากนักวิจัย ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาการต่างๆ และได้ปรับปรุงให้เหมาะสมรัดกุมชัดเจนจนกระทั่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ ประกาศใช้เป็นหลักเกณฑ์ควรประพฤติของนักวิจัยทั่วไป
วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติของนักวิจัยทั่วไป โดยมีลักษณะเป็นข้อพึงสังวรณ์มากกว่าจะเป็นข้อบังคับ อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างจรรยาบรรณในหมู่นักวิจัยต่อไป
นิยาม
นักวิจัย หมายถึง ผู้ที่ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบประเด็นที่สงสัย โดยมีระเบียบวิธีอันเป็นที่ยอมรับในแต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครอบคลุมทั้งแนวคิด มโนทัศน์และวิธีการที่ใช้ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
จรรยาบรรณ หมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรมและ จริยธรรมในการประกอบอาชีพ ที่กลุ่มบุคคลแต่ละสาขาวิชาชีพประมวลขึ้นไว้เป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพนั้นๆ ยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียงและส่งเสริมเกียรติคุณของสาขาวิชาชีพของตน
จรรยาบรรณนักวิจัย หมายถึง หลักเกณฑ์ควรประพฤติปฏิบัติของนักวิจัยทั่วไป เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรมและหลักวิชาการที่ เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐานของการศึกษาค้นคว้าให้เป็นไปอย่างสมศักดิ์ศรีและ เกียรติภูมิของนักวิจัย
จรรยาบรรณนักวิจัย : แนวทางปฏิบัติ
ข้อ 1. นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติและอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในงานวิจัย ต้องซื่อตรงต่อการแสวงหาทุนวิจัยและมีความเป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย
แนวทางปฏิบัติ
1.1 นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น นักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ในทุกขั้นตอนของกระบวนการวิจัย ตั้งแต่การเลือกเรื่องที่จะทำวิจัย การเลือกผู้เข้าร่วมทำวิจัย การดำเนินการวิจัย ตลอดจนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ นักวิจัยต้องให้เกียรติผู้อื่น โดยการอ้างถึงบุคคลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลและความคิดเห็นที่นำมาใช้ในงานวิจัย
1.2 นักวิจัยต้องซื่อตรงต่อการแสวงหาทุนวิจัย นักวิจัยต้องเสนอข้อมูลและแนวคิดอย่างเปิดเผยและตรงมาในการเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุน นักวิจัยต้องเสนอโครงการวิจัยด้วยความซื่อสัตย์โดยไม่ขอทุนซ้ำซ้อน
1.3 นักวิจัยต้องมีความเป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย นักวิจัยต้องจัดสรรสัดส่วนของผลงานวิจัยแก่ผู้ร่วมวิจัยอย่างยุติธรรม นักวิจัยต้องเสนอผลงานอย่างตรงไปตรงมา โดยไม่นำผลงานของผู้อื่นมาอ้างว่าเป็นของตน
ข้อ 2. นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำวิจัย ตามข้อตกลงที่ทำไว้กับหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัยและต่อหน่วยงานที่ตนสังกัด นักวิจัยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีและข้อตกลงการวิจัยที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน อุทิศเวลาทำงานวิจัยให้ได้ผลดีที่สุดและเป็นไปตามกำหนดเวลา มีความรับผิดชอบไม่ละทิ้งงานระหว่างดำเนินการ
แนวทางปฏิบัติ
2.1 นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำวิจัย นักวิจัยต้องศึกษาเงื่อนไข และกฎเกณฑ์ของเจ้าของทุนอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อป้องกันความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง นักวิจัยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ระเบียบและกฎเกณฑ์ตามข้อตกลงอย่างครบถ้วน
2.2 นักวิจัยต้องอุทิศเวลาทำงานวิจัย นักวิจัยต้องทุ่มเทความรู้ ความสามารถและเวลาให้กับการทำงานวิจัย เพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์
2.3 นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบในการทำวิจัย นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบ ไม่ละทิ้งงานโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และส่งงานตามกำหนดเวลา ไม่ทำผิดสัญญาข้อตกลงจนก่อให้เกิดความเสียหาย นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบในการจัดทำรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เพื่อให้ผลอันเกิดจากการวิจัยได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
ข้อ 3. นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัย นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัยอย่างเพียงพอและมีความ รู้ความชำนาญหรือมีประสบการณ์ เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ทำวิจัย เพื่อนำไปสู่งานวิจัยที่มีคุณภาพ และเพื่อป้องกันปัญหาการวิเคราะห์ การตีความ หรือการสรุปที่ผิดพลาด อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่องานวิจัย
แนวทางปฏิบัติ
3.1 นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ ความชำนาญหรือประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่ทำวิจัยอย่างเพียงพอเพื่อนำไปสู่งานวิจัยที่มีคุณภาพ
3.2 นักวิจัยต้องรักษามาตรฐานและคุณภาพของงานวิจัยในสาขาวิชาการนั้นๆ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อวงการวิชาการ
ข้อ 4. นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต นักวิจัยต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และเที่ยงตรงในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึกและมีปณิธานที่จะอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
แนวทางปฏิบัติ
4.1 การใช้คนหรือสัตว์เป็นตัวอย่างทดลอง ต้องทำในกรณีที่ไม่มีทางเลือกอื่นเท่านั้น
4.2 นักวิจัยต้องดำเนินการวิจัยโดยมีจิตสำนึกที่จะไม่ก่อความเสียหายต่อคน สัตว์ พืช ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
4.3 นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่จะเกิดแก่ตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาและสังคม
ข้อ 5. นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย นักวิจัยต้องไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลย และขาดความเคารพในศักดิ์ศรีของเพื่อนมนุษย์ต้องถือเป็นภาระหน้าที่ที่จะอธิบายจุดมุ่งหมายของการวิจัยแก่บุคคลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่หลอกลวงหรือบีบบังคับ และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
แนวทางปฏิบัติ
5.1 นักวิจัยต้องมีความเคารพในสิทธิของมนุษย์ที่ใช้ในการทดลอง โดยต้องได้รับความยินยอมก่อนทำการวิจัย
5.2 นักวิจัยต้องปฏิบัติต่อมนุษย์และสัตว์ที่ใช้ในการทดลองด้วยความเมตตา ไม่คำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ทางวิชาการจนเกิดความเสียหายที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง
5.3 นักวิจัยต้องดูแลปกป้องสิทธิประโยชน์และรักษาความลับของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง
ข้อ 6. นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด ต้องตระหนักว่าอคติส่วนตนหรือความลำเอียงทางวิชาการ อาจส่งผลให้มีการบิดเบือนข้อมูลและข้อค้นพบทางวิชาการ อันเป็นเหตุให้เกิดผลเสียหายต่องานวิจัย
แนวทางปฏิบัติ
6.1 นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด ไม่ทำงานวิจัยด้วยความเกรงใจ
6.2 นักวิจัยต้องปฏิบัติงานวิจัยโดยใช้หลักวิชาการเป็นเกณฑ์และไม่มีอคติมาเกี่ยวข้อง
6.3 นักวิจัยต้องเสนอผลงานวิจัยตามความเป็นจริง ไม่จงใจเบี่ยงเบนผลการวิจัย โดยหวังประโยชน์ส่วนตน หรือต้องการสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่น
ข้อ 7. นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ นักวิจัยพึงเผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อประโยชน์ทางวิชาการและสังคมไม่ขยายผลข้อ ค้นพบจนเกินความเป็นจริง และไม่ใช้ผลงานวิจัยไปในทางมิชอบ
แนวทางปฏิบัติ
7.1 นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบและรอบคอบในการเผยแพร่ผลงานวิจัย
7.2 นักวิจัยพึงเผยแพร่ผลงานวิจัยโดยคำนึงถึงประโยชน์ทางวิชาการและสังคม ไม่เผยแพร่ผลงานวิจัยเกินความเป็นจริง โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง
7.3 นักวิจัยพึงเสนอผลงานวิจัยตามความเป็นจริง ไม่ขยายผลข้อค้นพบโดยปราศจากการตรวจสอบยืนยันในทางวิชาการ
ข้อ 8. นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น นักวิจัยพึงมีใจกว้างพร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูลและขั้นตอนการวิจัย ยอมรับฟังความคิดเห็นและเหตุผลทางวิชาการของผู้อื่น และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขงานวิจัยของตนให้ถูกต้อง
แนวทางปฏิบัติ
8.1 นักวิจัยพึงมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ยินดีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างความเข้าใจในงานวิจัยกับเพื่อนร่วมงานและนักวิชาการอื่นๆ
8.2 นักวิจัยพึงยอมรับฟัง แก้ไขการทำวิจัยและการเสนอผลงานวิจัยตามข้อแนะนำที่ดี เพื่อสร้างความรู้ที่ถูกต้องและสามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้
ข้อ 9. นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ นักวิจัยพึงมีจิตสำนึกที่จะอุทิศกำลังสติปัญญาในการทำวิจัย เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการเพื่อความเจริญและประโยชน์สุขของสังคมและมวลมนุษย์ชาติ
แนวทางปฏิบัติ
9.1 นักวิจัยพึงไตร่ตรองหาหัวข้อการวิจัยด้วยความรอบคอบและทำการวิจัยด้วยจิตสำนึกที่จะอุทิศกำลังปัญญาของตน เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อความเจริญของสถาบันและประโยชน์สุขต่อสังคม
9.2 นักวิจัยพึงรับผิดชอบในการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการเพื่อความเจริญของสังคม ไม่ทำการวิจัยที่ขัดกับกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
9.3 นักวิจัยพึงพัฒนาบทบาทของตนให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น และอุทิศเวลา น้ำใจ กระทำการส่งเสริมพัฒนาความรู้ จิตใจ พฤติกรรมของนักวิจัยรุ่นใหม่ให้มีส่วนสร้างสรรค์ความรู้แก่สังคมสืบไป
คณะกรรมการพัฒนาระบบวิจัย คณะเภสัชศาสตร์
8 มีนาคม 2555
ระดับคุณภาพบทความวิจัยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ (สมศ.5)
ค่าน้ำหนัก ระดับคุณภาพงานวิจัย
0.125 มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
0.25 มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติที่ปรากฎในฐานข้อมูล TCI
0.50 มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติที่มีชื่อปรากฏอยู่ในประกาศของ สมศ.
0.75 มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank: www.scimagojr.com) โดยวารสารนั้นถูกจัดอยู่ในควอไทล์ที่ 3 หรือ 4 (Q3 หรือ Q4) ในปีล่าสุด ใน subject category ที่ตีพิมพ์ หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีชื่อปรากฏอยู่ในประกาศของ สมศ.
1.00 มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank: www.scimagojr.com) โดยวารสารนั้นถูกจัดอยู่ใน ควอไทล์ที่ 1 หรือ 2 (Q1 หรือ Q2) ในปีล่าสุด ใน subject category ที่ตีพิมพ์ หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล ISI
วิธีคำนวณ
เกณฑ์การให้คะแนน
ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 20 เท่ากับ 5 คะแนน
ระดับคุณภาพผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ระดับนานาชาติ (ตัวบ่งชี้ 4.5.1.2, สกอ. เตรียมสู่กลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัย
ค่าน้ำหนัก ระดับคุณภาพงานวิจัย
0.25 บทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ (Full paper)ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ที่มีกองบรรณาธิการจัดทารายงานฯ หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วยศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากต่างประเทศอย่างน้อยร้อยละ 25 และมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นจากต่างประเทศ
0.75 บทความจากผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ (Journal)ระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากลอื่นที่ยอมรับในศาสตร์นั้น ๆ นอกเหนือฐานข้อมูล ISI หรือบทความจากผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ(Journal) ที่มีชื่อปรากฏอยู่ในบัญชีรายชื่อวารสารระดับนานาชาติที่ สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเผยแพร่ใน Web Site ของสานักงานฯ
1.00 บทความจากผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ (Journal)ระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล ISI
วิธีคำนวณ
เกณฑ์การให้คะแนน
ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 55 เท่ากับ 5 คะแนน
ระดับคุณภาพบทความวิจัยตีพิมพ์ ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก (สมศ.4)
ค่าน้ำหนัก ระดับคุณภาพงานวิจัย
0.125 มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
0.25 มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติที่ปรากฎในฐานข้อมูล TCI
0.50 มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติที่มีชื่อปรากฏอยู่ในประกาศของ สมศ.
0.75 มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank: www.scimagojr.com) โดยวารสารนั้นถูกจัดอยู่ในควอไทล์ที่ 3 หรือ 4 (Q3 หรือ Q4) ในปีล่าสุด ใน subject category ที่ตีพิมพ์ หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีชื่อปรากฏอยู่ในประกาศของ สมศ.
1.00 มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank: www.scimagojr.com) โดยวารสารนั้นถูกจัดอยู่ใน ควอไทล์ที่ 1 หรือ 2 (Q1 หรือ Q2) ในปีล่าสุด ใน subject category ที่ตีพิมพ์ หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากล ISI
วิธีคำนวณ
เกณฑ์การให้คะแนน
ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 50 เท่ากับ 5 คะแนน
ระดับคุณภาพบทความวิจัยตีพิมพ์ ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท (สมศ.3)
ค่าน้ำหนัก ระดับคุณภาพงานวิจัย
0.25 มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง
0.50 มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ (proceeding) ที่ได้รับการยอมรับในสาขา
0.75 มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (proceeding) หรือ มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติที่ปรากฎในฐานข้อมูล TCI หรือวารสารวิชาการระดับชาติที่ได้รับการยอมรับในสาขา
1.00 มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ที่ได้รับการยอมรับในสาขา หรือในระดับสากล เช่น ISI หรือ Scopus
วิธีคำนวณ
เกณฑ์การให้คะแนน
ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 25 เท่ากับ 5 คะแนน
ระดับคุณภาพผลงานวิชาการที่ได้รับการรับรองคุณภาพ (สมศ.7)
หมายถึง : บทความวิชาการ ตำรา หนังสือ
ค่าน้ำหนัก ระดับคุณภาพงานวิชาการ
0.25 บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ
0.50 บทความวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ
0.75 ตำราหรือหนังสือที่มีการประเมินผ่านตามเกณฑ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิ
1.00 ตำราหรือหนังสือที่ใช้ในการขอผลงานทางวิชาการ และ ผ่านการพิจารณาตามเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว หรือตำราหรือหนังสือที่มีคุณภาพสูง มีผู้ทรงคุณวุฒิตรวจอ่านตามเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการ
วิธีคำนวณ
เกณฑ์การให้คะแนน
ใช้บัญญัติไตรยางศ์เทียบ กำหนดร้อยละ 10 เท่ากับ 5 คะแนน ทุกกลุ่มสาขาวิชา