บุคลากร

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
กลุ่มวิชาชีวเภสัชศาสตร์
มุ่งเน้นการเรียนการสอนและวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐานทางด้านการแพทย์และเภสัชศาสตร์ ได้แก่ กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา ชีวเคมีและชีวโมเลกุล จุลชีววิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยา ชีววัตถุ เภสัชวิทยา และพิษวิทยาคลินิก
สาขาวิชาชีวเภสัชศาสตร์ รับผิดชอบการสอนให้หมวดวิชาพื้นฐานวิชาชีพซึ่งมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้และทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สุขภาพที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานทางเภสัชศาสตร์และการแพทย์ได้ รวมถึงรับผิดชอบการสอนด้านเภสัชวิทยาและพิษวิทยาซึ่งเป็นวิชาชีพเฉพาะของหลักสูตร

กลุ่มวิชาเภสัชเคมีและเทคโนโลยีเภสัชกรรม
มุ่งเน้นการเรียนการสอนในสามสาขาวิชาได้แก่ เภสัชเคมี เทคโนโลยีเภสัชกรรม และ เภสัชเวท โดยให้ความสำคัญในการวางรากฐานองค์ความรู้และงานวิจัยทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและระดับบัณฑิตศึกษา
สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม รับผิดชอบเนื้อหาวิชาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางเภสัชกรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ในการพัฒนาเภสัชตำรับตลอดจนระบบนำส่งยาทางด้านต่างๆ รวมถึงการประเมินและการควบคุมคุณภาพสำหรับเภสัชภัณฑ์
สาขาวิชาเภสัชเคมี รับผิดชอบในการถ่ายทอดความรู้ในด้านเคมีทางยา การออกแบบยาและการสังเคราะห์ทางเคมี มีการเสริมทักษะทางด้านการวิเคราะห์ยาโดยเฉพาะในการประยุกต์ใช้เครื่องมือเพื่อวิเคราะห์หาสารเคมีและการควบคุมคุณภาพของสารทางยา
สาขาวิชาเภสัชเวท รับผิดชอบงานด้านการเรียนการสอนในรายวิชาเภสัชพฤกษศาสตร์และเภสัชเวท โดยวิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ จะถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับพืชสมุนไพร ทางด้านการพิสูจน์เอกลักษณ์ การควบคุมคุณภาพ ประโยชน์ รวมทั้งความปลอดภัยในการใช้พืชสมุนไพรและผลิตภัณฑ์จากพืชสมุนไพรในรูปแบบต่างๆ รายวิชาเภสัชเวท จะวางรากฐานการศึกษาในด้านการแยกและการพิสูจน์เอกลักษณ์ของสมุนไพรจากธรรมชาติ

กลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ
มุ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ ทักษะและความเชี่ยวชาญด้านงานบริบาลเภสัชกรรม ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของวิชาชีพเภสัชกรรมใน ประเทศและสากล ซึ่งเภสัชกรได้พัฒนาบทบาทและความรับผิดชอบในงานบริบาลเภสัชกรรม คือการให้คำปรึกษาแนะนำ การวางแผน การติดตามและประเมินผล การใช้ยาของผู้ป่วย ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โดยสามารถทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพอื่น โดยเฉพาะแพทย์และ พยาบาล เพื่อให้การใช้ยาในผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูงสุด
สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก รับผิดชอบในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและความเชี่ยวชาญด้านงานบริบาลเภสัชกรรม การให้คำปรึกษาแนะนำ การวางแผน การติดตามและประเมินผล การใช้ยาของผู้ป่วย ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน เพื่อให้การใช้ยาในผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูงสุด
สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร รับผิดชอบในการถ่ายทอดความรู้ความสามารถในการบริหารระบบงานเภสัชกรรม การวิเคราะห์ปัญหา วางแผนการดำเนินการ เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาระบบสุขภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้นักศึกษาตระหนักถึงจริยธรรม และจรรณยาบรรณในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม

สำนักงานเลขานุการ
งานบริการวิชาการ และทำนุศิลปวัฒนธรรม
งานประกันคุณภาพการศึกษาและสารสนเทศ