กลุ่มวิจัย

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


          คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีผลงานวิจัยที่โดดเด่นในด้านการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมจากสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่น อันเป็นเอกลักษณ์ในเขตภาคอีสานตอนล่าง ตลอดจนผลงานวิจัยที่ช่วยสนับสนุนและพัฒนาระบบบริการสุขภาพ  มีเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยในระดับชาติและนานาขาติ ใน 4 สาขา 14 กลุ่มวิจัย ดังนี้


 สาขาชีวเภสัชศาสตร์

กลุ่มวิจัยสมุนไพรเพื่อป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง 
(Research Cluster of Herbal medicine for Prevention and Treatment of Chronic Diseases)
     กลุ่มวิจัยมีวัตถุประสงในการวัจัยสมุนไพรและสารสำคัญจากสมุไพร ทั้งแบบเดี๋ยวและแบบเป็นตำรับสมุนไพรเพื่อนำไปใช้วิจัยในการรักษาโรคเรื่องรัง ได้แก่ มะเร็ง อัลไซเมอร์ เบาหวาน และโรคหัวใจ นอกจากนี้ยังมีแผนในการจัดเก็บสารสกัดจากสมุนไพรโดยทำเป็น Thai herbal library กลุ่มวิจัยมีสมาชิกเป็นอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ได้แก่ เภสัชศาสตร์ อณูชีววิทยา พยาธิวิทยา และสรีรวิทยา และทำงานร่วมกับเครือข่ายได้แก่ มหาวิทยาลัยโทยามาประเทศญี่ปุ่น โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ และบริษัท GIS pharma และสนับสนุนชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์ศรีไค เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาสมุนไพรเพื่อรักษาโรค มะเร็ง อัลไซเมอร์ และเบาหวาน โดยเริ่มตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ผลผลิตของโครงการทำให้ได้ ข้อเสนอโครงการ ความร่วมมือ บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ นิพนธ์ต้นฉบับ และนวัตกรรม ซึ่งจะนำไปให้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต 
     สมาชิก

  


หน่วยวิจัยเภสัชวิทยา
Pharmacology Research Unit (PRU)
     หน่วยวิจัยเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มุ่งเน้นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ของยาและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ โดยเฉพาะด้านเภสัชวิทยาพื้นฐาน กลไกการออกฤทธิ์ และการประเมินประสิทธิผลในระดับพรีคลินิก เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพที่มีทั้งประสิทธิผลและความปลอดภัย โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยาที่ช่วยป้องกันหรือบรรเทาภาวะเสื่อมของร่างกาย และแนวทางการรักษาที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ หน่วยวิจัยยังให้ความสำคัญกับความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และพัฒนาเทคโนโลยีทางเภสัชศาสตร์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาทางการแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
      สมาชิก
 


กลุ่มวิจัยชีวเภสัชภัณฑ์แบบบูรณาการ 
(Integrated Biopharmaceutical Research Group)
     กลุ่มวิจัยชีวเภสัชภัณฑ์แบบบูรณาการ มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐานด้านชีวเภสัชภัณฑ์ และการบูรณาการเทคโนโลยีเพื่อต่อยอดเป็นนวัตกรรมทางสุขภาพ โดยเฉพาะในด้านอาหารฟังก์ชัน สมุนไพร และเภสัชภัณฑ์ สำหรับผู้ที่มีภาวะอ้วนและโรคทางเมตาบอลิซึม เช่น โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่มีความสำคัญในระดับสากล ซึ่งงานวิจัยครอบคลุมทั้งในระดับเซลล์ สัตว์ทดลอง จนถึงระดับการวิจัยคลินิก นอกจากนี้ กลุ่มวิจัยยังให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมสุขภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการใช้กระบวนการผลิตที่ยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มประสิทธิภาพในการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
     สมาชิก


ศูนย์เภสัชพันธุศาสตร์และการวิจัยต่อยอดทางคลินิก
(Center for Pharmacogenomics and Clinical Translational Research)
     ศูนย์เภสัชพันธุศาสตร์และการวิจัยต่อยอดทางคลินิก เป็นกลุ่มความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชพันธุศาสตร์และคลินิก ที่มุ่งมั่นในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางพันธุกรรมของแต่ละบุคคลในการตอบสนองต่อยา ด้วยการเรียนรู้เชิงลึกแบบพหุปัญญาประดิษฐ์ เพื่อประยุกต์ใช้ในโรคต่าง ๆ (โดยเฉพาะโรคมะเร็ง และ ภาวะซึมเศร้า) และก่อให้เกิดการรักษาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับผู้ป่วย โดยมีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมทั้งลดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ สาขาหนึ่งที่ทางกลุ่มวิจัยฯ เน้นคือ การศึกษาบทบาทของยีนมะเร็ง (ซึ่งเป็นยีนที่ก่อกลายพันธุ์และกระตุ้นการพัฒนาให้เกิดโรคมะเร็ง) โดยการศึกษาบทบาทของยีนเหล่านี้ต่อการดื้อยาและผลลัพธ์ของการรักษา ซึ่งการทำความเข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนมะเร็งและยาจะเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาการรักษ าที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยกลุ่มวิจัยฯ มุ่งหวังที่จะระบุตัวบ่งชี้ทางพันธุกรรมที่สามารถทำนายการตอบสนองของผู้ป่วยต่อการรักษามะเ ร็งได้ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูลและแม่นยำยิ่งขึ้น ที่ ศูนย์เภสัชพันธุศาสตร์และการวิจัยต่อยอดทางคลินิก เรามุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในด้านเภสัชพันธุศาสตร์และสร้างผลกระท บที่สำคัญต่อการรักษามะเร็ง ภารกิจของเราคือการเชื่อมโยงความก้าวหน้าทางการวิจัยพันธุกรรมที่ทันสมัยกับการประยุกต์ใ ช้ทางคลินิก โดยการแปลงผลการค้นพบจากห้องทดลองไปสู่การแก้ปัญหาที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิต ประจำวัน เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์การรักษาของผู้ป่วย
     สมาชิก


หน่วยวิจัยสรีรวิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล “การศึกษาเชิงลึกเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการแพทย์และเภสัชกรรม
 (Cellular and Molecular Physiology Research Unit (Cm-Pru) “In-Depth Study for Medical and Pharmaceutical Innovations)
      หน่วยวิจัยสรีรวิทยาระดับเซลล์และโมเลกุล เป็นหน่วยวิจัยที่มุ่งเน้นการศึกษาโครงสร้างและกลไกการทำงานของเซลล์ในระดับโมเลกุล ทั้งในสภาวะปกติและสภาวะโรค โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์กลไกการทำงานของเซลล์ เช่น signaling pathways การแสดงออกของยีน และการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค นอกจากนี้ หน่วยวิจัยฯ ยังดำเนินการวิจัยและพัฒนาสารประกอบที่มีศักยภาพในการรักษาโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็งและโรค neurodegenerative diseases ผ่านการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและชีวภาพของสารประกอบนั้น ๆ งานวิจัยของหน่วยวิจัยฯ ครอบคลุมการเชื่อมโยงข้อมูลจากการศึกษาในระดับ genomic, cellular, tissue, และ systemic เพื่อสร้างความเข้าใจแบบองค์รวมเกี่ยวกับกระบวนการทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและโรค โดยมีขอบเขตงานวิจัยครอบคลุมการศึกษาด้านสรีรวิทยาของมะเร็ง โดยเน้นที่มะเร็งสมอง การศึกษาด้านประสาทสรีรวิทยา การศึกษาผลกระทบของสารประกอบต่อการทำงานของเซลล์และเนื้อเยื่อ และการใช้เทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุล ชีวเคมี และสรีรวิทยาในการวิเคราะห์ข้อมูล หน่วยวิจัยฯ มีความร่วมมืออย่างเข้มแข็งกับกลุ่มวิจัยและหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ และเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานวิจัย โดยมีเป้าหมายในการสร้างองค์ความรู้ใหม่และพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์และเภสัชศาสตร์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการป้องกันและรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
      สมาชิก


กลุ่มวิจัยโรคติดเชื้อและจุลชีววิทยาทางการแพทย์
(Infectious And Medical Microbiology Research GrouP)
     งานวิจัยภายใต้ความสนใจของกลุ่มวิจัยเกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อและจุลชีววิทยาทางการแพทย์ เช่น การศึกษาจุลินทรีย์ก่อโรคในด้านปัจจัยการก่อโรค พันธุกรรม การดื้อยา รวมทั้งการประยุกต์ความรู้และเทคโนโลยีในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพจากจุลชีพ เช่น ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก หรือผลิตภัณฑ์ซินไบโอติก เป็นต้น 
     สมาชิก



สาขาเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ



เภสัชศาสตร์บูรณาการ 
(Integrated Pharmaceutical Sciences)
      เป็นกลุ่มวิจัยที่สร้างงานวิจัย นวัตกรรมโดยบูรณาการวิทยาการต่างๆทางด้านเภสัชศาสตร์ ได้แก่ การออกแบบสูตรตำรับยา อาหารเสริม และเครื่องสำอางรูปแบบต่างๆ เช่น แบบเม็ด ผงชงละลาย ครีม โลชั่น ฯลฯ การทดสอบประสิทธิภาพ และความคงตัว นอกจากนี้ ยังทำการทดสอบความน่าจะเป็นที่จะเกิดอันตรกิริยาระหว่างพืชสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบันที่เกิดผ่านกลไกเมตาบอลิสมยา เน้นเอนไซม์ 
      สมาชิก
  


กลุ่มวิจัยด้านมาตรฐานสมุนไพรและตำรับยา
(Standardization of Materia medica and Herbal preparation Group)
     กลุ่มวิจัยมาตรฐานสมุนไพรและตำรับยา มุ่งมั่นที่จะพัฒนางานวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและการควบคุมคุณภาพของสมุนไพรและตำรับยา โดยทีมผู้วิจัยมีความเชี่ยวชาญในการสกัด แยก และการพิสูจน์โครงสร้างของสารธรรมชาติที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ รวมถึงการดัดแปลงโครงสร้างผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่น่าสนใจ ตลอดจนพัฒนาเทคนิคและวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการจัดทำมาตรฐานคุณภาพของสมุนไพรและตำรับยา ตั้งแต่วัตถุดิบจนถึงผลิตภัณฑ์
      สมาชิก


กลุ่มวิจัยด้านนวัตกรรมทางยาและเกษตรสารสกัด
(Innovation in Drug and Extract of Agriculture)
     กลุ่มวิจัยนวัตกรรมทางยาและเกษตรสารสกัดหรือกลุ่มวิจัย IDEA ได้รวมกลุ่มนักวิจัยทั้งภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและเครือข่ายนักวิจัยภายนอก โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักวิจัยให้ทำงานวิจัยร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและผลิตผลงานวิจัยคุณภาพให้มีจำนวนมากอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องให้นักวิจัยพัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถในการทำงานวิจัย เพื่อก้าวไปสู่กลุ่มวิจัยที่สามารถผลิตผลงานวิจัยอย่างมืออาชีพและเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับนักวิจัยภายนอกในการทำงานวิจัยร่วมกันแบบบูรณาการเพื่อให้เกษตรกรและท้องถิ่นได้รับประโยชน์สูงสุดจากผลงานวิจัยและนวัตกรรม 
      สมาชิก
 



สาขาเทคโนโลยีเภสัชกรรม  ระบบนำส่งยาและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรและเครื่องสำอาง


กลุ่มวิจัยด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีด้านสุขภาพ
Develop Health Products and Technology Research Group
     กลุ่มวิจัยด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Develop Health Products and Technology Research Group) เป็นกลุ่มที่ดำเนินการวิจัยและพัฒนา
     สมาชิก


หน่วยวิจัยทางเคมีเพื่อการค้นหาวิธีทดสอบทางเลือก
(Chemical  Research Unit for Exploration of Alternative Test Methods (CREATE)
     หน่วยวิจัยทางเคมีเพื่อการค้นหาวิธีทดสอบทางเลือก (Chemical  Research unit for Exploration of Alternative Test Methods (CREATE))  เป็นกลุ่มที่ดำเนินการวิจัยและพัฒนา
     สมาชิก
 



 สาขาเภสัชกรรมบริบาลและเภสัชกิจ


กลุ่มวิจัยด้านผลลัพธ์ทางคลินิก
(UBU Pharmacy Clinical Outcome Research Group  (UPCOR))
     กลุ่มวิจัยด้านผลลัพธ์ทางคลินิก (UBU Pharmacy Clinical Outcome Research Group  (UPCOR))  เป็นกลุ่มที่ดำเนินการวิจัยและพัฒนา
     สมาชิก
   


กลุ่มวิจัยด้านเภสัชศาสตร์ศึกษา
(PEUBU)
    เป็นกลุ่มวิจัยที่เน้นการพัฒนาด้านการเรียนการสอน การพัฒนาและการสร้างแบบประเมิน โดยเฉพาะการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือการเรียนรู้เชิงรุก
     สมาชิก


หน่วยวิจัยด้านการดูแลสุขภาพและการเป็นอยู่ที่ดี
(Health Care And Wellness Research Unit) / หน่วยวิจัยด้านการพัฒนาชีวเภสัชภัณฑ์ (Biopharmaceutical Product Development Research Unit)
      หน่วยวิจัยด้นการดูแลสุขภาพและการเป็นอยู่ที่ดี (Health Care and Wellness Research Unit)  เป็นกลุ่มที่ดำเนินการวิจัยและพัฒนา
     สมาชิก