พิพิธภัณฑ์เภสัชกรรมไทย

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ที่มาและความสำคัญ

         พื้นที่เขตอีสานใต้ เป็นบริเวณที่อุดมไปด้วยแหล่งของพืชพรรณนานาชนิด โดยเฉพาะพืชสมุนไพร ที่ มีคุณค่าทางยา จากภูมิปัญญาของหมอยาพื้นบ้าน การสํารวจ เก็บข้อมูล พบว่าพืชที่ใช้ทํายา ปรากฏใน ตํารายาพื้นบ้านอีสาน เป็นจํานวนมาก ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์ และเผยแพร่ เพื่อการใช้ประโยชน์อย่าง ยั่งยืน  

          ดังนั้น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงเห็นความสําคัญของการเก็บรวบรวมเครื่อง ยาและสมุนไพร และเผยแพร่องค์ความรู้พื้นบ้าน พร้อมทั้งข้อมูลสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ จึงได้จัดตั้ง พิพิธภัณฑ์สมุนไพรไทยเขตอีสานใต้ ขึ้นที่บริเวณอาคารร้านขายยา คณะเภสัชศาสตร์ บริเวณด้านหน้า มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งปัจจุบันรวบรวมเครื่องยา และสมุนไพรในเขตอีสานใต้ไว้โดยจําแนกเป็น  เครื่องยาจากพืช 249 ชนิด เครื่องยาจากสัตว์ 19 ชนิด เครื่องยาจากธาตุวัตถุ 32 ชนิด โดยจัดแสดงเครื่อง ยา ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง และตํารับยา พร้อมให้ความรู้ด้านสรรพคุณ โดยได้รับทุนสนับสนุนในการ ดําเนินงานจาก โครงการทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2553 และ ปี 2556 ผล จากการดําเนินการที่ผ่านมา ได้รวบรวมข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะจากนักศึกษา และประชาชนผู้เข้าชม พิพิธภัณฑ์ฯ พบว่าได้รับการตอบรับในระดับดีมาก โดยผู้เข้าชมส่วนใหญ่อยากให้มีการขยายพิพิธภัณฑ์เดิม ให้มีตัวอย่างเครื่องยาเพิ่มขึ้น และครบถ้วน ตามตํารับยาไทยอีสาน และยาแผนไทย โดยให้เพิ่มเครื่องยา จาก สัตว์วัตถุ และธาตุวัตถุ รวมทั้งต้องการให้มีการจัดแสดงวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการปรุงยา ตลอดจน ประวัติการรักษาโรคแผนไทยเพื่อการอนุรักษ์ไว้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ความรู้ภูมิปัญญาในการ รักษาโรคด้วยพืชสมุนไพร และแสดงให้เห็นตัวอย่างจริงของพืชสมุนไพร หรือตํารับยาที่ใช้ และยังใช้เป็น แหล่งที่ นักศึกษาใช้เรียนรู้ในรายวิชาพืชสมุนไพรของคณะเภสัชศาสตร์ การรวบรวมและเผยแพร่ในรูป พิพิธภัณฑ์สมุนไพร อันจะส่งผลให้เกิดการนําสมุนไพรไปใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า และไม่สูญหายไป ซึ่ง นอกจากจะทําให้เกิดการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้ว ยังเป็นการเผยแพร่ และสร้างชื่อเสียงให้กับทาง คณะฯ และมหาวิทยาลัยสู่บุคคลภายนอกได้อีกทางหนึ่ง 

        ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์สมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ เป็นแหล่งเรียนรู้ และให้บริการวิชาการ สำหรับนักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป และสนับสนุนการเรียนการสอนของคณะ  โดยภายในจัดแสดงเครื่องยา ตัวอย่าง พรรณไม้อ้างอิง จัดแสดง  ณ  อาคารนวัตกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์  ชั้น 1 ตึก A 


  •        เปิดให้บริการเข้าเยี่มชม ในวันราชการ เวลา 08.30 น. - 16.30 น.
  •        ติดต่อสอบถามข้อมูลการเข้าเยี่ยมชม ได้ที่ งานบริการวิชาการ โทรศัพท์: 045-353603 หรือ อีเมล์: phar_conference@ubu.ac.th  

        

      



อ่านเพิ่มเติม

https://phar.ubu.ac.th/image-detail/189




อ่านเพิ่มเติม

https://phar.ubu.ac.th/image-detail/149