การรับเข้าระดับบัณฑิตศึกษา

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 หลักสูตรที่เปิดรับสมัคร

ข้อมูลทั่วไป

ระดับปริญญาโท
หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567)

ระดับปริญญาโท
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาวิทยาการเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2568)
ระดับปริญญาเอก
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาเภสัชศาสตร์
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)
จำนวนการรับ10 คน/ปีการศึกษา6 คน/ปีการศึกษา5 คน/ปีการศึกษา
รายละเอียดหลักสูตร

1. แผน 1 แบบวิชาการ (ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว) จำนวน 36 หน่วยกิต

2. แผน 1 แบบวิชาการ (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
ศึกษารายวิชา จำนวน 20 หน่วยกิต
และทำวิทยานิพนธ์ จำนวน 16 หน่วยกิต

1. แผน 1 แบบวิชาการ (ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว) จำนวน 36 หน่วยกิต

2. แผน 1 แบบวิชาการ (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
ศึกษารายวิชา จำนวน 18 หน่วยกิต
และทำวิทยานิพนธ์ จำนวน 18 หน่วยกิต

1. หลักสูตรที่มุ่งเน้นการทำวิจัยวิทยานิพนธ์
     - แบบ 1.1 ทำวิทยานิพนธ์ จำนวน 48 หน่วยกิต
     - แบบ 1.2 
ทำวิทยานิพนธ์ จำนวน 72 หน่วยกิต

2. หลักสูตรทำวิจัยวิทยานิพนธ์และศึกษารายวิชา
 
     - แบบ 2.1 ศึกษารายวิชา จำนวน 12 หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ จำนวน 36 หน่วยกิต
     
  - แบบ 2.2 ศึกษารายวิชา จำนวน 24 หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ จำนวน 48 หน่วยกิต

โดย
แบ่งกลุ่มความเชี่ยวชาญในการทำวิทยานิพนธ์ เป็น 2 ด้าน คือ
     1) 
ด้านวิทยาการทางเภสัชศาสตร์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
     2) ด้านการวิจัยผลลัพธ์ทางเภสัชศาสตร์  

วันเวลาในการเรียนการสอนนอกวัน-เวลาราชการในวัน-เวลาราชการ
จัดการเรียนการสอนในวัน-เวลาราชการ/
นอกวัน-เวลาราชการ
(
ขึ้นกับสาขาความเชี่ยวชาญในการทำวิทยานิพนธ์)
รูปแบบการเรียนการสอนเน้นรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์
เป็นหลัก 
 ณ ที่ตั้ง คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ทั้งรูปแบบออนไลน์ และ รูปแบบ ณ ที่ตั้ง
(ขึ้นกับสาขาความเชี่ยวชาญในการทำวิทยานิพนธ์) 

อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา35,000 บาท ต่อภาคการศึกษา30,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
35,000 บาท ต่อภาคการศึกษา
ระยะเวลาการศึกษา2-5 ปีการศึกษา2-5 ปีการศึกษา
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
ไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

แผน 1 แบบวิชาการ (ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว)
     1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิตจากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ หรือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้การรับรองตามที่หลักสูตรกำหนด โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.75 จากระบบ 4.00
     2. มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ/นานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง ในสาขาเภสัชกรรมคลินิก หรือ มีนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ในด้านเภสัชกรรมคลินิกที่เป็นที่ประจักษ์ หรือ ได้รับการรับรองโดยหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ อย่างน้อย 1 ผลงาน หรือ มีประสบการณ์การทำงานในสาขาเภสัชกรรมคลินิกภายหลังจบการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิต อย่างน้อย 2 ปี
     3. หากผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนดข้อ 1 อาจได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้เป็นการเฉพาะรายขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

แผน 1 แบบวิชาการ (ศีกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
     1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิตจากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ หรือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้การรับรองตามที่หลักสูตรกำหนด โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 จากระบบ 4.00
     2. ในกรณีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.50 ต้องมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ปีทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
     3. หากผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนดข้อ 1 และ ข้อ 2 อาจได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้เป็นการเฉพาะรายขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

แผน 1 แบบวิชาการ (ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว)
     1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต หรือปริญญาบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาอื่น หรือวิทยาศาสตรบัณฑิตจากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ หรือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้การรับรองตามที่หลักสูตรกำหนด โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00 จากระบบ 4.00 และ มีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือ มีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ในวารสารวิชาการ หรือ มีการนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการ อาจได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้เป็นการเฉพาะราย
     2. หากผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนดข้อ 1 อาจได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้เป็นการเฉพาะราย ขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาการเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

แผน 1 แบบวิชาการ (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์) 
     1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต หรือปริญญาบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาอื่น หรือวิทยาศาสตรบัณฑิตจากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้การรับรองตามที่หลักสูตรกำหนด โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 จากระบบ 4.00
     2. หากผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนดข้อ 1 อาจได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้เป็นการเฉพาะรายขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี




1. หลักสูตรที่ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ แบบ 1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านเภสัชศาสตร์ โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.50
     2. หลักสูตรที่ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ แบบ 1.2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านเภสัชศาสตร์ โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.50
     3. หลักสูตรที่ทำวิทยานิพนธ์และศึกษารายวิชา แบบ 2.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านเภสัชศาสตร์ โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00
     4. หลักสูตรที่ทำวิทยานิพนธ์และศึกษารายวิชา แบบ 2.2 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านเภสัชศาสตร์ โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.25
     5. หากผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนดข้างต้น แต่มีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องด้านเภสัชศาสตร์ อาจได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้เป็นการเฉพาะรายขึ้นกับดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
     6. มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด

สอบถามรายละเอียดข้อมูลหลักสูตร

ผศ.พีรวัฒน์ จินาทองไทย
(ประธานหลักสูตร)
โทรศัพท์ 0 4535 3603
E-mail : peerawat.j@ubu.ac.th


รศ.ดร.ระวิวรรณ แก้วอมตวงศ์
(ประธานหลักสูตร)
โทรศัพท์ 0 4535 3623 
E-mail : rawiwun.k@ubu.ac.th 

ผศ.ดร.เบญจภรณ์ เศรษฐบุปผา
(ประธานหลักสูตร)
โทรศัพท์ 0 4535 3623
E-mail : benjabhorn.s@ubu.ac.th


รายละเอียดการรับสมัคร

1. ระบบรับสมัคร https://admission.ubu.ac.th/admission/home

2. ระยะเวลาการรับสมัคร  เปิดรับสมัคร จำนวน 2 ครั้ง ต่อปีการศึกษา คือ
                1) ภาคการศึกษาต้น                     ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ของทุกปี         (เริ่มเรียนเดือนมิถุนายนของทุกปี)
                2) ภาคการศึกษาปลาย
                ประมาณเดือนกรกฎาคม-กันยายน ของทุกปี        (เริ่มเรียนเดือนตุลาคมของทุกปี)

           3. สอบถามรายละเอียดข้อมูลการรับสมัคร : งานรับเข้าศึกษา กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ชั้น 1 ตึกอธิการบดีหลังเก่า มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
               โทรศัพท์ 0 4535 3120, 0 4535 3122 ; E-mail:
 entry@ubu.ac.th

           4. สอบถามรายละเอียดข้อมูลหลักสูตร : งานบัณฑิตศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
               โทรศัพท์ 0 4535 3625 ; Facebook Fanpage https://www.facebook.com/GradPharUBU ; E-mail: gradphar@ubu.ac.th

 รายละเอียดทุนสนับสนุนการศึกษา