ชื่อหลักสูตร
ภาษาอังกฤษ : Master of Pharmacy Program in Clinical Pharmacy
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อย่อ : ภ.ม. (เภสัชกรรมคลินิก)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Master of Pharmacy (Clinical Pharmacy)
ชื่อย่อ : M.Pharm (Clinical Pharmacy)
สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
- รูปแบบหลักสูตร : เป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567 ที่ปรับปรุงมาจากหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562
- เวลาที่เริ่มใช้หลักสูตรนี้ : ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา
2567
- การพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร :1) คณะกรรมการประจำคณะเภสัชศาสตร์ : ในการประชุมวาระพิเศษ/2566 เมื่อวันที่ 18 กันยายน 25662) คณะกรรมการบริหารวิชาการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : ในการประชุม ครั้งที่ 10/2566 เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2566
3) คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรของสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : ในการประชุมครั้งที่ 7/2566 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566
4) สภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอนุมัติหลักสูตร :
5) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พิจารณาความสอดคล้องหลักสูตร :
จุดเน้นของหลักสูตร
มุ่งเน้นการผลิตมหาบัณฑิตที่สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้และทักษะทางเภสัชกรรมคลินิก การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการดูแลผู้ป่วยหรือพัฒนาระบบยาหรือระบบบริการสุขภาพ ส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและปลอดภัย บนพื้นฐานของคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางด้านการวิจัยและวิชาชีพ
อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสำเร็จการศึกษา
1) เภสัชกรผู้ปฏิบัติงานด้านเภสัชกรรมคลินิก
2) นักวิชาการ/อาจารย์ด้านเภสัชกรรมคลินิก
รายละเอียดโครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา/จำนวนหน่วยกิต | แผน 1 แบบวิชาการ (ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว) | แผน 1 แบบวิชาการ (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์) |
1) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า | * | 20 กลุ่มวิชาบังคับ 14 หน่วยกิต กลุ่มวิชาเลือก 6 หน่วยกิต |
2) หมวดวิทยานิพนธ์ จำนวน | 36 หน่วยกิต | ไม่น้อยกว่า 16 หน่วยกิต |
จำนวนหน่วยกิตรวม | 36 หน่วยกิต | ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต |
คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
แผน 1 แบบวิชาการ (ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว) | แผน 1 แบบวิชาการ (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์) |
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิตจากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวง ศึกษาธิการ หรือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้การรับรองตามที่หลักสูตรกำหนด โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.75 จากระบบ 4.00 2. มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ/นานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง ในสาขาเภสัชกรรมคลินิก หรือ มีนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ในด้านเภสัชกรรมคลินิกที่เป็นที่ประจักษ์ หรือได้รับการรับรองโดยหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ อย่างน้อย 1 ผลงาน หรือ มีประสบการณ์การทำงานในสาขาเภสัชกรรมคลินิกภายหลังจบการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิต อย่างน้อย 2 ปี 3. หากผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนดข้อ 1) อาจได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้เป็นการเฉพาะรายขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 4. ไม่เป็นโรคหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคในการศึกษา 5. มีคุณสมบัติอื่นตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด | 1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิตจากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ หรือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม หรือสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้การรับรองตามที่หลักสูตรกำหนด โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 จากระบบ 4.00 2. ในกรณีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.50 ต้องมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 2 ปี ทั้งนี้ ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร 3. หากผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนดข้อ 1) อาจได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้เป็นการเฉพาะรายขึ้นกับดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 4. ไม่เป็นโรคหรือภาวะอันเป็นอุปสรรคในการศึกษา 5. มีคุณสมบัติอื่นตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด |
ระยะเวลาการศึกษา :
2 ปีการศึกษา แต่ไม่เกิน 5 ปีการศึกษา
การดำเนินการสอน
นอกวัน-เวลาราชการ
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
ค่าธรรมเนียมการศึกษาอัตราเหมาจ่าย 35,000 บาท/ภาคการศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาของหลักสูตร
แผน 1 แบบวิชาการ (ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว) | แผน 1 แบบวิชาการ (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์) |
1. ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร 2. เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย จนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สำหรับการสอบปากเปล่าให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ที่สถาบันอุดมศึกษาแต่งตั้ง ซึ่งมีองค์ประกอบตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 ข้อ 9.3.4 โดยเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ 3. ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบบทความในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพ อย่างน้อง 1 เรื่อง โดยการระบุชื่อนักศึกษาเป็นชื่อแรกในการเผยแพร่ผลงานเพื่อขอสำเร็จการศึกษาให้เป็นไปตามประกาศมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เรื่อง หลักเกณฑ์การเผยแพร่วิทยานิพนธ์เพื่อขอสำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2556 หากกรณีผลงานวิทยานิพนธ์ในรูปแบบนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ต้องได้รับการเผยแพร่ในแหล่งข้อมูลตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนดอย่างน้อย 1 ผลงาน | 1. ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้รับระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า 2. เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย จนบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สำหรับการสอบปากเปล่าให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ที่สถาบันอุดมศึกษาแต่งตั้ง ซึ่งมีองค์ประกอบตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 ข้อ 9.3.4 โดยเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้ 3. ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ได้รับการตีพิมพ์
หรืออย่างน้อยได้รับการเผยแพร่ในรูปแบบบทความหรือนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์หรือผลงานทางวิชาการอื่นซึ่งสามารถสืบค้นได้ตามที่สภาสถาบันอุดมศึกษากำหนด |