นโยบายและทิศทางงานวิจัย

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 นโยบายงานวิจัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 

    1. กำหนดกรอบและทิศทางการวิจัย เพื่อสร้างอัตลักษณ์ของคณะเภสัชศาสตร์ ที่สอดคล้องกับนโยบายการวิจัยของชาติ และตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและ ประเทศเพื่อเป็นผู้นำด้านการวิจัยในประชาคมอาเซียน
    2. ส่งเสริมและสนับสนุนนักวิจัยให้มีทักษะในการทำวิจัย และคุณธรรม จริยธรรมการวิจัย เพื่อให้สามารถสร้างผลงานวิจัยให้เป็นที่ยอมรับในระดับมาตรฐานสากล
    3. ส่งเสริมและพัฒนาเครือข่ายการวิจัย ในระดับชุมชน ชาติ และนานาชาติ ทั้งในภาครัฐและเอกชน
    4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย และนำประโยชน์จากผลงานวิจัยไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านการพัฒนาการเรียนการสอน และการประยุกต์ผลงานวิจัยสู่อุตสาหกรรมและการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์


 แผนการดำเนินงาน (พ.ศ. 2566-2570)

  1. ส่งเสริมการจัดกลุ่มงานวิจัยตามสาขาความชำนาญของนักวิจัย ความพร้อมของครุภัณฑ์และปัจจัยเอื้อทางด้านภูมิศาสตร์
  2. ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์วิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญตามกลุ่มสาขาความชำนาญ เพื่อต่อยอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพื่อแก้ไขปัญหาในงานประจำ
  3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน
  4. สนับสนุนทรัพยากรและพัฒนาศักยภาพนักวิจัยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
  5. สนับสนุนทุนวิจัย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งทุนวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับระเบียบและขั้นตอนการเสนอโครงการวิจัย และประสานงานกับหน่วยงานภายนอก เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้รับทุนวิจัย
  6. สนับสนุน ยกย่องเชิดชูเกียรตินักวิจัยที่มีผลงานดีเด่น หรือได้รับรางวัล
  7. สร้างเครือข่ายการวิจัยทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
  8. จัดทำฐานข้อมูลด้านการทำวิจัยและผลงานวิจัยของคณาจารย์และนักวิจัย รวบรวมผลงานวิจัยที่ได้ทำเสร็จสมบูรณ์แล้วเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยให้แก่ภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และบุคคลทั่วไป


          คณะเภสัชศาสตร์มีผลงานวิจัยที่โดดเด่นในด้านการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมจากสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่น อันเป็นเอกลักษณ์ของเขตภาคอีสานตอนล่าง ตลอดจนผลงานวิจัยที่ช่วยสนับสนุนและพัฒนาระบบบริการสุขภาพ มีเครือข่ายความร่วมมือทั้งกับหน่วยงานวิจัยในระดับชาติและนานาชาติมากกว่า 20 แห่ง โดยขับเคลื่อนงานวิจัยผ่านคณาจารย์ที่มีประสบการณ์และผลงานทั้งในระดับชาติและนานาชาติ มากกว่า 60 คน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มวิจัยเพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานมากกว่า 15 กลุ่ม ใน 4 สาขา ได้แก่
        -  สาขาชีวเภสัชศาสตร์   
        -  สาขาเภสัชเคมีและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
        -  สาขาเทคโนโลยีเภสัชกรรม ระบบนำส่งยาและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรและเครื่องสำอาง
        -  สาขาด้านเภสัชกรรมบริบาลและเภสัชกิจ


        นอกจากนี้ยังมีผลงานนวัตกรรม และทรัพย์สินทางปัญญาที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและสร้างความรอบรู้ในด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพให้กับประชาชน อาทิ
        -  แอพพลิเคชั่น “ยาอะไร” ที่ช่วยประชาชนในการตรวจสอบเม็ดยาว่าเป็นยาอะไร เพื่อให้เกิดการใช้ยาที่ถูกต้องยิ่งขึ้น ซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล drug
        -  แอปพลิเคชัน“รู้ทัน ท้องเสีย” ช่วยประเมินความจำเป็นในการใช้ยาปฏิชีวนะ