หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Pharmaceutical Sciences


ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เภสัชศาสตร์) ชื่อย่อ : ปร.ด. (เภสัชศาสตร์)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Pharmaceutical Sciences) ชื่อย่อ : Ph.D. (Pharmaceutical Sciences)


วิชาเอก

1. วิชาเอกเภสัชศาสตร์ชีวภาพ
2. วิชาเอกเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
3. วิชาเอกการบริหารเภสัชกิจและการวิจัยผลลัพธ์ทางสุขภาพ



จุดเน้นของหลักสูตร

มุ่งเน้นการเรียนและการวิจัยพัฒนาใน 3 ด้านหลักที่เป็นจุดเน้นของแต่ละสาขาวิชาเอก ดังนี้
1. สาขาวิชาเอกเภสัชศาสตร์ชีวภาพ มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนและชีวเภสัชภัณฑ์
เพื่อพัฒนาองค์ความรู้งานด้านวัคซีนที่จำเป็นในการควบคุมโรคประจำถิ่นในภูมิภาคและการป้องกันควบคุมโรคในวงกว้าง
2. สาขาวิชาเอกเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากธรรมชาติ เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านสมุนไพรไทย
3. สาขาวิชาเอกการบริหารเภสัชกิจและการวิจัยผลลัพธ์ทางสุขภาพ มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนา ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารบริการสุขภาพ โดยเฉพาะด้านเภสัชกรรม การคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสาธารณสุข รวมทั้งการวิจัยประเมินผลลัพธ์จากการใช้ยาและระบบบริการสุขภาพ เพื่อส่งเสริมกระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย


คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แบบ 1.1 (หลักสูตรที่ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์)
แบบ 1.2 (หลักสูตรที่ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์)

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.50

2. คุณสมบัติอื่นๆ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2550 หมวดที่ 5 ข้อ 15.2 และ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558

3. หากผู้สมัครมีคุณสมบัติ ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด อาจได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้เป็น การเฉพาะราย ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.50 หรือ กรณีที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมน้อยกว่า 3.50 ต้องเป็นผู้มีประสบการณ์การทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องไม่ต่ำกว่า 2 ปี และผ่านการพิจารณา จากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

2. คุณสมบัติอื่นๆ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2550 หมวดที่ 5 ข้อ 15.2 และ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558

3. หากผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนด อาจได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้เป็น การเฉพาะราย ทั้งนี้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


รายละเอียดโครงสร้างหลักสูตร

แบบ 1.1 ( หลักสูตรที่ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์)
จำนวน 48 หน่วยกิต
แบบ 1.2 (หลักสูตรที่ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์)
จำนวน 72 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต) 3 หน่วยกิต

2. หมวดวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาบังคับ (ไม่นับหน่วยกิต) 3 หน่วยกิต

2. หมวดวิทยานิพนธ์ 72 หน่วยกิต

ระยะเวลาการศึกษา

- สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ใช้ระยะเวลาการศึกษา 3 ปีการศึกษา ไม่เกิน 6 ปีการศึกษา

- สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ใช้ระยะเวลาการศึกษา 4 ปีการศึกษา ไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

การดำเนินการสอน

จันทร์-อาทิตย์ (ขึ้นกับสาขาความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยวิทยานิพนธ์)



ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าธรรมเนียมการศึกษาอัตราเหมาจ่าย 35,000 บาท/ภาคการศึกษา



เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาของหลักสูตร

หลักสูตรแบบ 1 .1 และ หลักสูตรแบบ 1.2

1. สอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ ( Qualifying Examination ) ตามคณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ นำเสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษาแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ารับฟังได้
2. สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับ การยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ ที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ อย่างน้อย 2 เรื่อง



(ประธานหลักสูตร)


(อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร)


(อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร)


(อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร)


(อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร)


(อาจารย์ประจำหลักสูตร)


(อาจารย์ประจำหลักสูตร)


(อาจารย์ประจำหลักสูตร)


(อาจารย์ประจำหลักสูตร)


(อาจารย์ประจำหลักสูตร)


(อาจารย์ประจำหลักสูตร)