หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์
ภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Pharmaceutical Sciences

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย ชื่อเต็ม : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เภสัชศาสตร์) ชื่อย่อ : ปร.ด. (เภสัชศาสตร์)
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Doctor of Philosophy (Pharmaceutical Sciences) ชื่อย่อ : Ph.D. (Pharmaceutical Sciences)

จุดเน้นของหลักสูตร

มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่เป็นนักวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และนวัตกรรมด้านวิทยาการทางเภสัชศาสตร์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ หรือด้านการวิจัยผลลัพธ์ทางเภสัชศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถนะในการแข่งขันทางด้านเภสัชศาสตร์ของประเทศ โดยมีขอบเขตงานวิจัย แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ
1. ด้านวิทยาการทางเภสัชศาสตร์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
2. ด้านการวิจัยผลลัพธ์ทางเภสัชศาสตร์

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

แบบ 1.1
(หลักสูตรที่ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์)

แบบ 1.2
(หลักสูตรที่ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์)

แบบ 2.1
(หลักสูตรที่เรียนรายวิชา
และ ทำวิทยานิพนธ์)
แบบ 2.2(หลักสูตรที่เรียนรายวิชา
และทำวิทยานิพนธ์)
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านเภสัชศาสตร์ จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้การรับรองหรือเทียบเท่า โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.50

หากผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนดข้างต้น แต่มีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องด้านเภสัชศาสตร์ อาจได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้เป็นการเฉพาะรายขึ้นกับดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

2. มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านเภสัชศาสตร์ จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้การรับรองหรือเทียบเท่า โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.50

หากผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนดข้างต้น แต่มีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องด้านเภสัชศาสตร์ อาจได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้เป็นการเฉพาะรายขึ้นกับดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

2. มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านเภสัชศาสตร์ จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้การรับรองหรือเทียบเท่า โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00

หากผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนดข้างต้น แต่มีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องด้านเภสัชศาสตร์ อาจได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้เป็นการเฉพาะรายขึ้นกับดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

2. มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับด้านเภสัชศาสตร์ จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนให้การรับรองหรือเทียบเท่า โดยมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.25

หากผู้สมัครมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามข้อกำหนดข้างต้น แต่มีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องด้านเภสัชศาสตร์ อาจได้รับการพิจารณาให้เข้าศึกษาได้เป็นการเฉพาะรายขึ้นกับดุลยพินิจของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

2. มีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวั ตกรรม หรือคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด

รายละเอียดโครงสร้างหลักสูตร

แบบ 1.1
(หลักสูตรที่ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์) จำนวน 48 หน่วยกิต
แบบ 1.2
(หลักสูตรที่ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์) จำนวน 72 หน่วยกิต
แบบ 2.1
(หลักสูตรที่เรียนรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์) จำนวนไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
แบบ 2.2
(หลักสูตรที่เรียนรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์) จำนวนไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาบังคับ 3 หน่วยกิต
(ไม่นับหน่วยกิต)
2. หมวดวิทยานิพนธ์48 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาบังคับ 3 หน่วยกิต
(ไม่นับหน่วยกิต)
2. หมวดวิทยานิพนธ์ 72 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาบังคับ 3 หน่วยกิต
(ไม่นับหน่วยกิต)
2.กลุ่มวิชาบังคับ 6 หน่วยกิต
(นับหน่วยกิต)
3. กลุ่มวิชาเลือก 3 หน่วยกิต
4. หมวดวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาบังคับ 3 หน่วยกิต
(ไม่นับหน่วยกิต)
2.กลุ่มวิชาบังคับ 6 หน่วยกิต
(นับหน่วยกิต)
3. กลุ่มวิชาเลือก 18 หน่วยกิต
4. หมวดวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต

ระยะเวลาการศึกษา

- สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ใช้ระยะเวลาการศึกษา 3 ปีการศึกษา ไม่เกิน 6 ปีการศึกษา

- สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ใช้ระยะเวลาการศึกษา 4 ปีการศึกษา ไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

การดำเนินการสอน

จันทร์-อาทิตย์ (ขึ้นกับสาขาความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยวิทยานิพนธ์)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าธรรมเนียมการศึกษาอัตราเหมาจ่าย 35,000 บาท/ภาคการศึกษา

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาของหลักสูตร

แบบ 1 .1 และ แบบ1 .2 หลักสูตรที่ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์)
แบบ 2.1 และ แบบ 2.2 หลักสูตรที่เรียนรายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)

1. ผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้ความสามารถทางภาษาต่างประเทศ ตามประกาศของมหาวิทยาลัย

2. ต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ ( Qualifying Examination ) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่าน การสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายใน และ ภายนอก สถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับ ฟังได้

3. สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับ การยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กำหนด อย่างน้อยสองเรื่อง

1. ต้องศึกษารายวิชาครบถ้วนและสอบผ่านทุกรายวิชาตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า

2. ผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้ความสามารถทางภาษาต่างประเทศ ตามประกาศของมหาวิทยาลัย

3. ต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ ( Qualifying Examination ) เพื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขอทำวิทยานิพนธ์ เสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในและภายนอกสถาบัน และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับ ฟังได้

4. สำหรับผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับ การยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานเกณฑ์ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กำหนด อย่างน้อยหนึ่งเรื่อง


(ประธานหลักสูตร)


(อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร)


(อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร)


(อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร)


(อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร)


(อาจารย์ประจำหลักสูตร)


(อาจารย์ประจำหลักสูตร)


(อาจารย์ประจำหลักสูตร)


(อาจารย์ประจำหลักสูตร)


(อาจารย์ประจำหลักสูตร)


(อาจารย์ประจำหลักสูตร)